Free Essay

Dsdfdsf

In:

Submitted By antonioo
Words 274
Pages 2
“You are the weakest link. Goodbye.” เมื่อกล่าวถึงประโยคนี้ ย่อมเป็นที่รู้จักกันอย่างมาก โดยเป็น slogan ดัง ของรายการเกมโชว์ The Weakest Link ไม่มีวิธีการใดที่ดีและเหมาะสมที่สุดสำหรับทุกบริษัท โดย 3 บทก่อนหน้าได้กล่าวถึง การพัฒนาการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ของการรับคนเข้ามาทำงานกับบริษัทโครงสร้างของ job offer (ค่าจ้าง , การทดสอบ , screening) และการลงทุนในความสามารถ ความเชี่ยวชาญต่างๆ ซึ่งแต่ละบริษัทก็จะมีกลยุทธ์ที่แตกต่างกันไปกับการตอบสนองต่อนโยบายต่างๆเหล่านี้ **ยกตัวอย่างหุ้น** แล้วกล่าว>>>ในบางบริษัท turnover ถูกมองว่าเป็นสิ่งที่มีคุณค่า เพราะมีพนักงานใหม่ๆเข้ามาและง่ายต่อการแยกแยะเพื่อหาคนที่มีความสามารถสูงสุด อย่างไรก็ตาม turnover นั้นมีต้นทุนที่สูงเนื่องจากการลงทุนในskillsของลูกจ้างมีความต้องการในลักษณะเฉพาะหรือคุณสมบัติเฉพาะ โดยมีกระบวนการต่างๆที่เราใช้พัฒนาเครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ซึ่งมีความสัมพันธ์กันทั้งภายในและภายนอกของการจ้างงาน ซึ่งรวมไปถึง adverse selection, signaling และ relationship specific
Investments
ในบทนี้ จะจบส่วนแรกของหนังสือโดยใช้เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ต่างๆเหล่านี้ เพื่อวิเคราะห์ประเด็นที่มีความเกี่ยวข้องกับการจัดการกับลูกจ้าง โดย theme ใน 2 บทแรกกล่าวถึงการนำลูกจ้างเข้าสู่องค์กร ส่วนบทที่ 3 กล่าวถึงการพัฒนาความสามารถของลูกจ้าง เพื่อที่พวกเขาจะได้มีประสิทธิภาพการผลิตสูงขึ้นและเติบโตในอาชีพของพวกเขา มาถึงบทนี้จะกล่าวถึงเรื่องของ turnover ภายใต้สถานการณ์แบบใดที่เหมาะสมและวิธีการจัดการอย่างไรให้มีประสิทธิภาพ โดยเราจะย้อนกลับไปเรื่อง recruiting เมื่อเราคิดถึงความพยายามในการจ้างนายจ้างจากคู่แข่ง ซึ่งการวิเคราะห์ในที่นี้จะเน้นในเรื่องของ turnover
Is Turnover Good or Bad? มีอยู่ 2 สถานการณ์เมื่อนึกถึงการออกจากงานของลูกจ้าง (employee turnover) 1.การไล่ออกเพื่อลดขนาด(downsizing) 2.ความต้องการที่จะจัดการกับแรงงานที่มีการไหลเข้าและออกจากบริษัท โดยจะกล่าวถึงการไล่ออกทีหลัง ในส่วนนี้จะพิจารณาปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อจุดที่เหมาะสมของ turnover ของบริษัท เมื่อสถานการณ์ของธุรกิจนั้นเป็นปกติ ทุกบริษัทควรที่จะมีการหมุนเวียนลูกจ้างซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการทำธุรกิจ คำถามคือ เท่าไหร่? และแบบใด? เมื่อคิดเกี่ยวกับการ turnover มีคำถามมากมายที่เกี่ยวข้องการวิเคราะห์ในระดับที่เหมาะสม คือเราควรจะมีการ turnover ในระดับเดียวกันทั้งหมด หรือ ควรจะแบ่งระดับที่แตกต่างกันไปสำหรับงานที่ต่างกัน ตัวอย่างเช่น เราควรจะหาระดับที่เหมาะสมสำหรับการ turnover หรือไม่ หรือเราควรจะกำหนดให้มีการเปลี่ยนแปลงจากงานหนึ่งไปสู่อีกงานหนึ่ง? โดยทั่วไปแล้ว คำตอบคือ ควรจะมีระดับที่แตกต่างกัน งานที่แตกต่างกันในบริษัทนั้นย่อมมี characteristics ที่แตกต่างกัน บางงานอาจต้องการ turnover ที่สูง ขณะที่บางงานอาจจะต้องการรักษาระดับ turnover ที่ต่ำมาก ซึ่งโดยทั่วไปบริษัทส่วนใหญ่มีอัตราการหมุนเวียน (turnover rates) ที่แตกต่างไปในแต่ละประเภทของงาน, อาชีพ, ลำดับชั้น(hierarchical level), สถานที่ และอื่นๆ
Importance of Sorting เหตุผลหนึ่งที่สำคัญที่สุดเพื่อกระตุ้น turnover คือ การsorting โดย sorting ทำให้บริษัทสามารถเพิ่มคุณภาพของแรงงาน โดยทำให้สามารถ screening ผู้สมัครได้มากขึ้น ยิ่งโอกาสที่บริษัทได้พิจารณารับคนเข้าทำงานมากเท่าใด โอกาสที่จะได้ค้นพบลูกจ้างที่มีความสามารถยิ่งสูงขึ้นเท่านั้น ซึ่งเกี่ยวข้องกับ concept of matching จากบทที่ 3 ด้วย ซึ่งการ sorting เพิ่มขึ้น จะทำให้โอกาสที่จะได้ลูกจ้างที่เหมาะสมกับตำแหน่งงานนั้นๆมากขึ้น แน่นอนว่า การ sorting เป็นสิ่งที่มีคุณค่าต่อการจำกัดขอบเขต นั้นก็คือ ความแตกต่างกันของความสามารถ(ability)เป็นสิ่งที่สำคัญ ตัวอย่างหนึ่ง คือ เมื่อมีสิ่งที่ต้องเรียนรู้เกี่ยวกับแรงงานมากขึ้น น้อยคนที่จะทราบว่า ability นั้นเป็นสิ่งที่มีความหลากหลายเปลี่ยนแปลงได้ เช่น turnover มีแนวโน้มที่จะเป็นประโยชน์สำหรับการจ้างแรงงานหนุ่มสาวและมีประสบการณ์การทำงานเล็กน้อย อีกทั้ง turnover ยังเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับลูกจ้างที่ได้รับการเลื่อนขั้นไปยังตำแหน่งใหม่ เนื่องจาก มีความไม่แน่นอนว่าเขาเหล่านั้นจะเหมาะสมกับงานใหม่หรือไม่ จะเห็นได้จาก บทที่1 และบทที่ 2 Sorting ยังเป็นสิ่งที่มีประโยชน์เมื่อความแตกต่างเล็กน้อยระหว่างความสามารถ หรือ การmatching นำไปสู่ผลกระทบวงกว้างของประสิทธิภาพการผลิตหรือต้นทุน ดังนั้น งานที่ต้องใช้ความสามารถจึงจำเป็นต้องมี turnover ที่สูง เพื่อที่จะได้ผู้สมัครที่เหมาะสมกับตำแหน่งมากที่สุด เมื่อนำความคิดเหล่านี้มารวมกัน ก็จะบ่งบอกได้ชัดเจอว่า turnover นั้นเป็นสิ่งที่สำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงต้นของอาชีพ ในบริษัทชั้นนำต่างๆหรือสถาบันทางด้านวิชาการ (academia) ซึ่งเป็นองค์กรที่ต้องใช้แรงงานที่มีความรู้(knowledge workers) , idea และความคิดสร้างสรรค์จึงเป็นสิ่งจำเป็น และความแตกต่างเล็กน้อยระหว่างความสามารถจะทำให้เกิดผลของความมีประสิทธิภาพที่แตกต่างกันอย่างมาก บริษัทชั้นนำต่างๆเหล่านี้มักจะมีการทดสอบที่ยุติธรรมและมี up-or-out systems ดังนั้นพวกเขาจึงสามารถ หาแรงงานที่มีความสามารถสูงที่สุดได้
Technical Change ประโยชน์ที่สำคัญอีกประการหนึ่งของ turnover คือ ได้พนักงานใหม่เข้าสู่บริษัท ลูกจ้างใหม่มีแนวโน้มที่จะมีทัศนคติที่กว้าง มุมมองหลากหลาย และมีความคิดที่ทันสมัย รวมไปถึงเทคโนโลยีและการพัฒนาอื่นๆ ดังนั้น turnover เหมาะกับอุตสาหกรรมที่เทคโนโลยีนั้นก้าวหน้าไปได้อย่างรวดเร็ว เช่นคอมพิวเตอร์และโทรคมนาคม ในบางครั้ง turnover นั้นอาจเป็นการจ้างลูกจ้างจากบริษัทอื่นซึ่งเป็นผลดีต่อบริษัทเรา เพราะ คุณจะได้รับ ideas และ innovations จากคู่แข่ง อีกทั้งยังมีประโยชน์ที่จะได้รับจากการจ้างแรงงานวัยหนุ่มสาว คือ แรงงานวัยหนุ่มสาวเรียนรู้เทคนิคที่ทันสมัยจากมหาวิทยาลัย ดังนั้นเราคาดหวังว่าค่าจ้างจะไม่สูงมากในขณะที่เขาทำงานอยู่เพราะ innovation ต่างๆก็มาจากงานวิจัยในมหาวิทยาลัย นอกจากนี้อาจจะมีการร่วมมือกันระหว่างแรงงานวัยหนุ่มสาวและแรงงานสูงอายุอย่างเหมาะสม โดยแรงงานวัยหนุ่มสาวสามารถสร้าง idea และเทคโนโลยีใหม่ๆ ส่วนแรงงานสูงอายุมีประสบการณ์ และความเข้าใจที่ลึกซึ้งต่อธุรกิจ จึงอาจก่อให้เกิดการลงทุนในความรู้เฉพาะด้านสำหรับบริษัท ซึ่งแรงงานสูงอายุมีความสามารถที่จะนำ idea ต่างๆเหล่านั้นไปสร้างกำไรให้แก่บริษัท โดยมีความเป็นไปได้ที่ทั้ง 2 กลุ่มจะ cross-train หรือร่วมมือกัน เนื่องจาก skill เป็นสิ่งที่ไม่สามารถเรียนรู้ได้จากในโรงเรียน (ธุรกิจเป็นสิ่งที่ไม่ตายตัว) จึงอาจก่อให้เกิดผลประโยชน์อย่างมากจากการร่วมมือกันระหว่างแรงงานวัยหนุ่มสาวและแรงงานสูงอายุ
Organizational Change การเปลี่ยนแปลงขององค์กรสามารถได้รับประโยชน์จากการ turnover เนื่องจาก เป็นการนำความคิดใหม่ๆเข้ามาสู่บริษัท ลูกจ้างปัจจุบันมีความเชี่ยวชาญในวิธีการทำธุรกิจของตน แต่หากบริษัทต้องการที่จะเปลี่ยนแปลงวิธีต่างๆ พวกเขาเหล่านั้นก็จะไม่ใช่ผู้ที่เหมาะสมที่สุดสำหรับตำแหน่งนั้นๆ ส่วนมากแล้วมักจะเกิดขึ้นกับผู้บริหารระดับสูง (senior management) คำกล่าวข้างต้นไม่เป็นจริงเสมอไป ซึ่งจะสามารถเห็นได้ในบทที่ 7และบทที่ 8 บางครั้งบริษัทมีวิธีทำธุรกิจที่แน่นอน โดยจะรับคนเข้าทำงานแล้ว promote ภายในบริษัท(ไม่จ้างคนภายนอกมาเป็นผู้บริหาร) เพื่อพัฒนา specific human capital แต่ก็อาจประสบปัญหาการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมอย่างกะทันหัน เพราะ พวกเขามียังประสบการณ์ที่ต่ำในการบริหารจัดการ พวกเขาอาจจะไม่รู้ตัวว่า กำลังประสบปัญหาอยู่เพราะในอดีตพวกเขานั้นประสบความสำเร็จและมีชื่อเสียงพอสมควรข้างนอกบริษัทที่ทำงาน ณ ปัจจุบัน เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาภายในเหล่านี้ จะเป็นการดีหากจ้าง outsider ที่มีประสบการณ์ในทุกๆระดับ บริษัทที่มีการจ้าง outsider อย่างต่อเนื่องมีแนวโน้มที่จะเป็นที่จดจำเมื่อเวลาผ่านไป และสามารถปรับตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Hierarchical Structure บางครั้ง turnover ที่สูงอาจจะเป็นสิ่งจำเป็นเมื่อการจัดการโครงสร้างทางองค์กรส่งผลให้ลำดับชั้นแคบลงทันที ณ ระดับหนึ่ง ย้อนกลับไปบทที่ 2 พิจารณาตาราง 2.1 column ที่ 2 แสดง เปอร์เซ็นต์ของลูกจ้างบริษัท Acme ณ ระดับต่างๆ โดยที่ระดับ 4 ไป 5 ลำดับชั้นแคบลงอย่างเห็นได้ชัด (กล่าวอย่างคร่าวๆคือผู้บริหารระดับกลางกลายเป็นผู้บริหารระดับสูง) บางครั้ง turnover นั้นไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ เพราะ มีโอกาสเพียงเล็กน้อยที่จะได้เลื่อนขั้นสำหรับผู้บริหารระดับ 4 ผู้บริหารบางคนอาจจะท้อแท้และล้มเลิกที่จะคว้าโอกาสนั้น ในความเป็นจริง บริษัท Acme อาจจะต้องให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ มิฉะนั้น ผู้บริหารระดับ 4 จะไม่สามารถเลื่อนขั้นได้มากกว่านี้ ซึ่งส่งผลกระทบต่อผู้บริหารระดับ 3 2 และ1 ตามลำดับ โดยจะลด incentive การทำงาน เพราะ ลูกจ้างหากมี performance ที่ดีย่อมหวังที่จะได้รับการเลื่อนขั้น ยิ่งไปกว่านั้นบริษัท Acme มีโอกาสที่จะเสียแรงงานที่มีประสิทธิภาพก็เป็นได้ ระบบการเลื่อนตำแหน่ง(promotion system) เปรียบเหมือนกับท่อน้ำ ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อให้น้ำไหลเข้า-ออกได้อย่างต่อเนื่องไม่ขัดข้อง
Specific Human Capital จากบทที่ 3 ในเรื่องของ on-the-job training จะไม่ก่อให้เกิด turnover costs หากเป็น general training ในทางตรงกันข้าม หากเป็น specific training มากเท่าใด turnover costs ยิ่งสูงมากขึ้น โดยทั่วไปแล้วต้นทุนนี้จะตกเป็นภาระของทั้งสองฝ่าย คือ ทั้งบริษัทและลูกจ้างเนื่องจากมีการลงทุนร่วมกัน ดังนั้นบริษัทที่มีลักษณะของธุรกิจเฉพาะตัว(idiosyncratic businesses), วิธีการ(methods) หรือวัฒนธรรมมีแนวโน้มที่จะมี turnover ที่ต่ำ ในทำนองเดียวกัน ในงานที่มีการพัฒนาทางด้านทรัพย์สินทางปัญญาแล้วนั้นควรจะพยายามที่ลด turnover ให้ต่ำลง ท้ายที่สุดหากลูกจ้างพัฒนาความสัมพันธ์กับลูกค้าจนมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันแล้ว turnover จึงจะสูงขึ้นอย่างมาก

Similar Documents