Free Essay

Navakit

In:

Submitted By Nonae08
Words 573
Pages 3
กรณีศึกษา บริษัทนวรัตน์จำจัด เป็นกรณีศึกษาเกี่ยวกับ การคาดคะเนการหมุนเวียนของเงินสด สำหรับ 3 เดือนสุดท้ายของปี 2528 ผลการประเมินเป็นดังต่อไปนี้ 1. การประเมินยอดขายเงินสด และยอดขายเชื่อเงินสดในแต่ละเดือน เดือน | มิถุนายน | กรกฎาคม | สิงหาคม | กันยายน | ตุลาคม | พฤศจิกายน | ธันวาคม | มกราคม | กุมภาพันธ์ | ยอดขาย | 3,000,000 | 3,000,000 | 3,500,000 | 3,500,000 | 4,000,000 | 4,500,000 | 5,000,000 | 5,000,000 | 3,500,000 | ขายเงินสด 20% | 600,000 | 600,000 | 700,000 | 700,000 | 800,000 | 900,000 | 1,000,000 | 1,000,000 | 700,000 | ขายเชื่อ 1 เดือน 56% | | 1,680,000 | 1,680,000 | 1,960,000 | 1,960,000 | 2,240,000 | 2,520,000 | 2,800,000 | 2,800,000 | ขายเชื่อ 2 เดือน 26% | | | 720,000 | 720,000 | 840,000 | 840,000 | 960,000 | 1,080,000 | 1,200,000 | รวมเงินสดจากการขาย | | | | | 3,600,000 | 3,980,000 | 4,480,000 | 4,880,000 | 4,700,000 |

2. การประเมินยอดซื้อสินค้า และการจ่ายชำระหนี้ในแต่ละเดือน เดือน | มิถุนายน | กรกฎาคม | สิงหาคม | กันยายน | ตุลาคม | พฤศจิกายน | ธันวาคม | มกราคม | กุมภาพันธ์ | ต้นทุนสินค้า 70% ของยอดขาย | 2,100,000 | 2,100,000 | 2,450,000 | 2,450,000 | 2,800,000 | 3,150,000 | 3,500,000 | 3,500,000 | 2,450,000 | เงินสดจ่าย ณ ที่ ซื้อ 70 % | 1,470,000 | 1,470,000 | 1,715,000 | 1,715,000 | 1,960,000 | 2,205,000 | 2,450,000 | 2,450,000 | 1,715,000 | เจ้าหนี้ 1 เดือน 30 % | | 630,000 | 630,000 | 735,000 | 735,000 | 840,000 | 945,000 | 1,050,000 | 1,050,000 | รวมเงินสดซื้อสินค้า | | | | | 2,695,000 | 3,045,000 | 3,395,000 | 3,500,000 | 2,765,000 |

3. ประเมินกระแสเงินสด และวางแผนการเงิน เดือน | มิถุนายน | กรกฎาคม | สิงหาคม | กันยายน | ตุลาคม | พฤศจิกายน | ธันวาคม | มกราคม | กุมภาพันธ์ | ยอดขาย | 3,000,000 | 3,000,000 | 3,500,000 | 3,500,000 | 4,000,000 | 4,500,000 | 5,000,000 | 5,000,000 | 3,500,000 | รวมเงินสดรับ | | | | | 3,600,000 | 3,980,000 | 4,480,000 | 4,880,000 | 4,700,000 | เงินสดจ่าย | เงินสดซื้อสินค้า | | | | | 2,695,000 | 3,045,000 | 3,395,000 | 3,500,000 | 2,765,000 | ค่าใช้จ่ายการบริหาร | 500,000 | 500,000 | 500,000 | 500,000 | 500,000 | 500,000 | 500,000 | 500,000 | 500,000 | ค่าใช้จ่ายจากการขาย 10% | 300,000 | 300,000 | 350,000 | 350,000 | 400,000 | 450,000 | 500,000 | 500,000 | 350,000 | ชำระดอกเบี้ยหุ้นกู้ | | | | | | | 400,000 | | | ไถ่ถอนหุ้นกู้ | | | | | | 2,000,000 | | | | ซื้ออุปกรณ์ | | | | | | 60,000 | | | | เงินปันผล | | | | | | | 500,000 | | | รวมเงินสดจ่าย | | | | | 3,595,000 | 6,055,000 | 5,295,000 | 4,500,000 | 3,615,000 | เงินสดรับ(จ่าย) สุทธิ | | | | | 5,000 | - 2,075,000 | -815,000 | 380,000 | 1,085,000 |

วางแผนการเงิน เดือน | ตุลาคม | พฤศจิกายน | ธันวาคม | มกราคม | กุมภาพันธ์ | เงินต้นงวดยกมา | 1,000,000 | 1,005,000 | 1,000,000 | 1,000,000 | 1,000,000 | เงินสดรับ(จ่าย) สุทธิ | 5,000 | - 2,075,000 | - 815,000 | 380,000 | 1,085,000 | เงินสดคงเหลือ | 1,005,000 | - 1,070,000 | 185,000 | 1,380,000 | 2,085,000 | เงินสดขั้นต่ำ | 1,000,000 | 1,000,000 | 1,000,000 | 1,000,000 | 1,000,000 | กู้ | - | 2,075,000 | 815,000 | - 380,000 | - 1,085,000 | ยอดเงินกู้สะสม | - | 2,075,000 | 2,890,000 | 2,510,000 | 1,425,000 | 4. สรุปการคาดคะเนการหมุนเวียนของเงินสดงวด 3 เดือนสุดท้ายของปีพบว่า บริษัทจะมีเงินสดรับสุทธิ 5,000 , -2,075,000 และ -815,000 ตามลำดับ จะเห็นได้ว่ามี 2 เดือนที่กระแสเงินสดของบริษัทติดลบ ซึ่งแสดงถึงการบริหารเงินทุนหมุนเวียนที่ไม่มีประสิทธิภาพเพราะกระแสเงินเงินสดรับและกระแสเงินสดจ่ายไม่สอดคล้องกัน ดังนั้นบริษัทจึงมีความจำเป็นที่จะต้องรักษาสภาพคล่องทางการเงินโดยกู้เงินหรือหาเงินสำรองเพื่อรักษาสภาพคล่องของบริษัทในเดือน พ.ย. และ ธ.ค. จำนวน 2,075,000 และ 815,000 บาทตามลำดับ จากการบริหารเงินทุนหมุนเวียนที่ไม่มีประสิทธิภาพของบริษัทในช่วง 3 เดือนสุดท้ายมีประเด็นที่สำคัญต่อการพิจารณาดังต่อไปนี้ 1) จากนโยบายการขายสินค้าของบริษัทคือ ขายเป็นเงินสด 20 % เหลืออีก 80% ขายเป็นเงินเชื่อ 1 เดือน 56 % และ 2 เดือน 24 % จะเห็นได้ว่าบริษัทเก็บเงินจากการขายสินค้าน้อยเกินไปเพียง 20 % ของยอดขายในขนาดที่มีรายจ่ายค่อนข้างมาก ซึ่งหากเทียบเงินสดที่เก็บได้จากการขายเพียงพอจ่ายเฉพาะค่าบริหารงานเท่านั้น 2) ค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานของบริษัทค่อนข้างสูง เมื่อเทียบกับยอดขายคิดเป็น 40-50% ของยอดขายจึงทำให้บริษัทมีเงินสดรับสุทธิค่อนข้างน้อยบ้างเดือนติดลบ ซึ่งการที่บริษัทขาดสภาพคล่องของบริษัทบ่อยๆ อาจทำให้การดำเนินงานของบริษัทหยุดชะงักและทำให้บริษัทจะต้องเสียดอกเบี้ยจากเงินกู้เพื่อรักษาสภาพคล่อง 3) บริษัทจ่ายเงินสดเพื่อซื้อสินค้าค่อนข้างมากถึง 70% ของต้นทุนสินค้าจึงทำให้ในแต่ละเดือนบริษัทมีภาระเงินสดจ่ายค่อนข้างสูง 4) ค่าจ่ายจ่ายในการจัดหาเงินทุนของบริษัทค่อนข้างสูง ในช่วงงวด 3 เดือนสุดท้าย ทั้งดอกเบี้ยเงินกู้ เงินปันผล และการจ่ายเงินเพื่อไถ่ถอนหุ้นกู้ ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้บริษัทมีกระแสเงินสดรับสุทธิติดลบในเดือน พ.ย. และ ธ.ค. นอกจากนี้บริษัทมีการจ่ายเงินปันผล หรือการกำหนดวันครบการไถ่ถอนหุ้นกู้อยู่ในช่วงที่บริษัท มีรายจ่ายด้านอื่นๆ สูงอยู่แล้ว 5) การที่บริษัทเป็นธุรกิจขนาดเล็ก และมีเจ้าหนี้หลายราย อาจจะทำให้บริษัทมีค่าใช้จ่ายที่สูง และไม่สามารที่จะเลื่อนการชำระหนี้หรือการผ่อนจ่ายในระยะยาวได้ ดังนั้นบริษัทจึงจำเป็นที่จะต้องพิจารณาดูว่า อัตราดอกเบี้ยและเงื่อนไขของเงินกู้แต่ละประเภทเป็นอย่างไร มีความเป็นไปได้หรือไม่ที่จะรวมเงินกู้ทั้งหมดที่มีอยู่เป็นหนี้รายเดียวที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำและสามารถที่จะผ่อนจ่ายได้ในระยะยาวอาจจะทำให้ยอดรายจ่ายแต่ละเดือนลดลง

5. ข้อเสนอแนะ 1) ปรับนโยบายการขายใหม่โดยเก็บเงินสดจากยอดขายให้มากยิ่งขึ้นเพราะปัจจุบันบริษัทเก็บเงินสดจากการขายได้เพียง 20 % ของยอดขาย พยายามเร่งรัดการเก็บเงินสดรับจากการขายสินค้าทันที ทุกครั้งที่ขายสินค้าหรือให้บริการกิจการ พยายามสร้างแรงจูงใจให้ลูกหนี้ชำระหนี้เร็วขึ้น โดยการให้ส่วนลดเงินสด เป็นการจูงใจให้ลูกหนี้ชำระเงินได้เร็วขึ้น แต่ต้องระวังว่าให้สามารถแข่งขันกับธุรกิจที่มีลักษณะคล้ายกัน หรือสินค้าทดแทนกันได้ ตลอดจนจัดช่องการให้สินเชื่อกับลูกค้าร่วมกับสถาบันการเงิน บัตรเครดิตต่างๆ เพื่อให้บริษัทสามารถเก็บเงินได้เร็วขึ้น และป้องกันหนี้สูญ 2) ลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน เช่นสั่งสินค้าให้เพียงพอกับการจำหน่ายเพื่อลดการเก็บปริมาณสินค้าคงคลังและต้นทุนสินค้าคงคลัง อาจปรับใช้นโยบายแบบ “Just in Time” โดยซื้อให้พอดีกับการการจำหน่ายโดยเก็บสินค้าคงคลังให้เหลือน้อยที่สุด 3) ต่อรองขอขยายเวลาการจ่ายชำระหนี้ หรือการชะลอเงินสดจ่าย หรือจ่ายเงินสดน้อยๆเพราะปัจจุบันบริษัทจ่ายเงินสดจากการซื้อสินค้า 70% ของต้นทุนสินค้า ดังนั้นบริษัทควรจะยืดเวลาการชำระให้นานที่สุดโดยที่กิจการไม่เสียชื่อเสียงในเรื่องของการชำระค่าสินค้า 4) บริษัทควรเลื่อนการจ่ายเงินปันผลไปยังเดือนกุมพาพันธ์ เพราะจากการประมาณกระแสเงินสดพบว่าในเดือนกุมพาพันธ์มีกระแสเงินสดสุทธิมากพอที่จะสามารถจ่าย เงินปันผลให้กับผู้ถือหุ้นได้ โดยที่บริษัทไม่ต้องจัดหาเงินเพิ่มเพื่อรักษาสภาพคล่อง 5) บริษัทควรมีกลยุทธ์หรือวิธีเลื่อนการจ่ายเงินไถ่ถอนหุ้นกู้ออกไป เช่น การให้ดอกเบี้ยเพิ่มในกรณีที่ผู้ถือหุ้นกู้มาไถ่ถอนหุ้นกู้คืนหลัง ระยะเวลาการไถ่ถอน แต่สิ่งที่ต้องคำนึงคือจะต้องนำดอกเบี้ยที่บริษัทจะจ่ายให้กับผู้ถือหุ้นกู้ในกรณีที่มาไถ่ถอนช้าเกินกว่ากำหนด เทียบกับดอกเบี้ยเงินกู้ระยะสั้น 6) รวมเจ้าหนี้ให้เป็นเจ้าหนี้เดียวกัน เพื่อสร้างอำนาจการต่อรองในเรื่องของดอกเบี้ย และการจ่ายดอกเบี้ยเพื่อให้เกิดการประหยัดต้นทุนเงินทุน

Similar Documents