Free Essay

Tourism

In: Business and Management

Submitted By mickeyjal
Words 650
Pages 3
บทที่ 3
ยุทธศาสตร์แผนพัฒนาการท่องเที่ยวปี 2554 -2558 การจัดทำยุทธศาสตร์แผนพัฒนาการท่องเที่ยวปี 2554 -2558 อยู่ภายใต้กรอบแนวคิด “ ความร่วมมืออาเซียน สู่การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ” เนื่องจากภายในปี พ.ศ. 2558 นี้ประเทศไทยละอีก 9 ประเทศสมาชิกอาเซียนจะก้าวสู่การเป็นประชาคมอาเซียนอย่างสมบูรณ์แบบ ดังนั้นด้านการท่องเที่ยวจึงต้องมีการวางแผนพัฒนาการท่องเที่ยวที่ต้องควบคู่ไปกับการเป็นประชาคมอาเซียน ที่จะสร้างประโยชน์ด้านการท่องเที่ยวต่อประเทศไทยเป็นอย่างมาก หากประเทศไทยมีการเตรียมความพร้อมและการวางแผนการพัฒนาการท่องเที่ยวที่มีคุณภาพ และยั่งยืน ประกอบกับกรอบความร่วมมือของอาเซียนจะช่วยให้ประเทศไทยสามารถเป็นประเทศไทยได้รับผลประโยชน์ที่ยั่งยืนจากการเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2558 นี้ได้
วิสัยทัศน์
มุ่งสู่การเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวแห่งอาเซียนด้วยการพัฒนาศักยภาพเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันภายใต้กรอบความร่วมมืออาเซียน ด้วยทรัพยากรการท่องเที่ยวที่มีคุณภาพ เกื้อกูลกันอย่างสมดุลและยั่งยืน
พันธกิจ
1. พัฒนาข้อได้เปรียบทางการแข่งขันเพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการท่องเที่ยว 2. ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และการมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อสร้างรากฐานการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน 3. พัฒนาบุคลากรด้านการท่องเที่ยวทุกภาคส่วน เพื่อเตรียมพร้อมการเคลื่อนย้ายแรงงานเสรีภาคการท่องเที่ยวของกลุ่มประเทศในอาเซียน 4. สร้างความร่วมมืออันดีกับประเทศเพื่อนบ้านและอาเซียนเพื่อสนับสนุนการอำนวยความสะดวกในการเดินทางท่องเที่ยวในกลุ่มประเทศอาเซียน โดยอาศัยการร่วมมือกันอย่างเกื้อกูลและยั่งยืน

ยุทธศาสตร์ ที่ 1 : พัฒนาข้อได้เปรียบทางการแข่งขันของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทยเพื่อเพิ่มขีด ความสามารถในการแข่งขัน
กลยุทธ์ 1.1 ฟื้นฟูแหล่งท่องเที่ยวเสื่อมโทรมและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวให้มีความหลากหลาย เพื่อยกระดับคุณภาพมาตรฐาน สร้างศักยภาพ เพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน
แนวทางการดำเนินงาน
1. ฟื้นฟูแหล่งท่องเที่ยวเสื่อมโทรม และพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวที่มีอยู่เดิม โดยการกำหนดมาตรฐานของแหล่งท่องเที่ยว รวมถึงการจัดการประเมินขีดความสามารถในการรองรับ(Carrying Capacity)ของนักท่องเที่ยวในแต่ละเขตพื้นที่ให้มีความเหมาะสม เพื่อสร้างคุณค่าให้กับสถานที่ท่องเที่ยว หากไม่มีการจำกัดขีดความสามารถในการรองรับนักท่องเที่ยว ก็ต้องมีการดูแลอย่างใกล้ชิดและเน้นนักท่องเที่ยวเชิงคุณภาพมากว่าปริมาณเพื่อเป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 2. สรรหาผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ เพื่อให้เกิดความหลากหลาย โดยเน้นนำเอกลักษณ์ที่โดเด่นในแต่ละท้องที่มาเป็นจุดขาย และสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐเอกชน และชุมชนท้องถิ่น ในการช่วยกันสร้างความโดดเด่นและสร้างเอกลักษณ์ที่เป็นของตนเอง 3. ส่งเสริมการท่องเที่ยวที่เป็น Unseen Thailand สร้างการรับรู้ให้ชาวไทยและชาวต่างชาติ ผ่านสื่อต่างๆโดยการจัด Road show และทางเว็บไซด์ ที่นักท่องเที่ยวสามารถค้นหาข้อมูลได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ถูกต้องและน่าเชื่อถือ

กลยุทธ์ที่ 1.2 พัฒนาโครงสร้างและสิ่งอำนวยความสะดวกทางการท่องเที่ยวให้ได้มาตรฐานระดับสากล
แนวทางการดำเนินงาน
1. ส่งเสริมการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางการท่องเที่ยวในประเทศไทย ที่มีความจำเป็นในการเดินทางท่องเที่ยว โดยผ่านการประเมินผลกระทบที่จะเกิดขึ้น ซึ่งโครงสร้างดังกล่าวจะต้องไม่ส่งผลกระทบเชิงลบต่อทรัพยากรทางการท่องเที่ยวและมีความสอดคล้องกลมกลืนกับสภาพสิ่งแวดล้อม เช่น การสร้างที่พักควรมีการประเมินผลกระทบที่เกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อมหรือทรัพยากรทางการท่องเที่ยวก่อนการก่อสร้างทุกครั้ง 2. มีการสำรวจโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกในสถานที่ท่องเที่ยว ให้มีความเพียงพอ และได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับในระดับสากล โดยนำผลสำรวจที่ได้มาพัฒนาโครงสร้างและสิ่งอำนวยความสะดวกที่ยังไม่ได้มาตรฐาน 3. สร้างสิ่งอำนวยความสะดวก สอดคล้องกับความต้องการของนักท่องเที่ยว เพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยว ตั้งแต่การเดินทางไปยังสถานที่ท่องเที่ยวต้องมีความสะดวกปลอดภัยจนถึงเรื่องของสุขาภิบาลและตลอดจนการเดินทางกลับของนักท่องเที่ยวเพื่อสร้างความประทับใจและสร้างมาตรฐานให้กับสถานที่ท่องเที่ยว

กลยุทธ์ 1.3 สร้างคุณค่า (Value Chain) และมูลค่าเพิ่ม (Value Added) ให้กับผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยวเพื่อเพิ่มขีดความสารถทางการแข่งขัน
แนวทางการดำเนินการ
1. สร้างคุณค่าโดยเน้นการบริการที่เป็นเลิศ และสร้างมูลค่าเพิ่มโดยการนำเอาเอกลักษณ์ความเป็นไทย “ บูรณาการ” เข้ากับผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยว เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม และทำให้นักท่องเที่ยวรู้สึกถึงคุณค่าและความคุ้มค่าในการเดินทางมาท่องเที่ยวประเทศไทย 2. สนับสนุนการเพิ่มกิจกรรมที่สร้างสรรค์ในแหล่งท่องเที่ยว เพื่อเป็นการสร้างความคุ้มค่าให้กับนักท่องเที่ยว โดยกิจกรรมที่สร้างขึ้นนั้น ต้องเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ให้กับนักท่องเที่ยวได้ นอกเหนือจากการมาท่องเที่ยวแบบปกติ 3. การสนับสนุนโครงการกลุ่มพื้นที่ทางการท่องเที่ยว (Cluster) ทั้ง 14 กลุ่มจังหวัด ที่นำเอาเอกลักษณ์ของแต่ละพื้นที่ที่มีความใกล้เคียงกันมารวมเป็นเส้นทางการท่งเที่ยวเดียวกันโดยเริ่มจากการประชาสัมพันธ์และพัฒนาเตรียมความพร้อม ด้านโครงสร้างและการประสานงานทั้ง 14 กลุ่มจังหวัดเพื่อสร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่มให้กับสถานที่ท่องเที่ยว เพื่อสร้างสิ่งดึงดูดใจนักท่องเที่ยว โดยเส้นทางกลุ่มพื้นที่ทางการท่องเที่ยว (Cluster) ทั้ง 14 กลุ่มจังหวัดมีดังนี้ (1) กลุ่มท่องเที่ยวน้ำพุร้อน เชียงราย - เชียงใหม่ - ลำปาง – แม่ฮ่องสอน
พื้นที่ภาคเหนือตอนบน มีแหล่งน้ำ พุร้อนที่มีคุณภาพสูง สามารถพัฒนาให้มีความโดดเด่นขึ้นมา โดยพัฒนาสิ่งอา นวยความสะดวกในการให้บริการให้มี รูปแบบการให้บริการที่ทันสมัย ควบคู่กับการให้ไทยสปา และการสร้างเอกลักษณ์ของน้ำ แร่ไทย (2) กลุ่มท่องเที่ยวเชิงนิเวศและผจญภัย เชียงใหม่- เชียงราย- พะเยา-น่าน- ตาก- สุโขทัย- กำแพงเพชร- อุตรดิตถ์- พิษณุโลก- เพชรบูรณ์
พัฒนาการท่องเที่ยวเชิงผจญภัย โดยเน้นกิจกรรมที่มีความท้าทาย และผจญภัย เช่น การล่องแก่ง ปีนหน้าผา จักยานเสือภูเขา และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ในแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติทั้งนี้จะต้องพัฒนามาตรฐานการให้บริการอุปกรณ์ และการรักษาความปลอดภัยรวมทั้งการอำนวยความสะดวกในการเดินทางเข้าสู่แหล่งท่องเที่ยว (3) กลุ่มท่องเที่ยวอารยธรรมล้านนา เชียงใหม่- เชียงราย- ลำปาง- ลำพูน- พะเยา- แพร่-น่าน
นำความโดดเด่นของอารยธรรมล้านนาในพื้นที่ภาคเหนือตอบบน ซึ่งมีจุดเด่นในด้านเอกลักษณ์และวัฒนธรรมมาสร้างเป็นจุดขายสำคัญในด้านการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม มุ่งเน้นการอนุรักษ์ ฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมดั้งเดิม (4) กลุ่มท่องเที่ยวมรดกโลกเชื่อมโยงการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ตาก- สุโขทัย- กำแพงเพชร- พิจิตร-พิษณุโลก- นครสวรรค์- อุทัยธานี- พระนครศรีอยุธยา
ในพื้นที่ภาคเหนือและภาคกลางมีแหล่งท่องเที่ยวมรดกโลกอยู่ 3 แห่ง (เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยศรีสัชนาลัย กำแพงเพชร และอุทยานประวัติศาสตร์อยุธยา) แนวทางการพัฒนาจะเน้นสร้างความเชื่อมโยงระหว่างมรดกโลกทั้ง 3 แห่ง และเชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่ใกล้เคียง โดยเน้นการดูแลรักษาอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยวที่เป็นมรดกโลก พัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกส่งเสริมการท่องเที่ยวในลักษณะที่มีเรื่องราว (Thematic Leisure) และรูปแบบการนำเสนอที่สอดคล้องกับความต้องการของนักท่องเที่ยว (5) กลุ่มท่องเที่ยวนิเวศป่าร้อนชื้น นครสวรรค์- อุทัยธานี- ชัยนาถ- สิงห์บุรี-กาญจนบุรี- สุพรรณบุรี - ลพบุรี-สระบุรี- นครราชสีมา- ฉะเชิงเทรา-นครนายก-ปราจีนบุรี- สระแก้ว
พัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ การท่องเที่ยวแบบพา นักนาน และกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงผจญภัย โดยสร้างกิจกรรมการท่องเที่ยวที่เหมาะสมกับศักยภาพของพื้นที่ที่มีจุดเด่นคือ ธรรมชาติที่สวยงามของป่าเขตร้อนมาเป็นจุดขาย (6) กลุ่มท่องเที่ยววิถีชีวิตลุ่มแม่น้ำภาคกลาง ชัยนาท- สิงห์บุรี- อ่างทอง- พระนครศรีอยุธยา- ลพบุรี-สุพรรณบุรี-นครปฐม-นนทบุรี-ปทุมธานี- สมุทรปราการ-สมุทรสงคราม- สมุทรสาคร- ราชบุรี- กรุงเทพมหานคร
ในพื้นที่ลุ่มภาคกลาง มีแม่น้ำ หลายสายไหลผ่าน และก่อให้เกิดวัฒนธรรมประเพณี และภูมิทัศน์อันโดดเด่น สามารถพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวตลอดลา น้ำเพื่อให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และ
ผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่น พร้อมเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวกับแหล่งผลิตจากภูมิปัญญาท้องถิ่น และสนับสนุนแหล่งที่พักในลักษณะของโฮมสเตย์ (7) กลุ่มท่องเที่ยว Royal Coast เพชรบุรี- ประจวบคีรีขันธ์- ชุมพร- ระนอง พื้นที่ The Royal Coast มีจุดเด่นที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่อยู่ใกล้กรุงเทพฯ มีความสะดวกในการ
คมนาคม และความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาพื้นที่โดยนา ศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวที่มีหลากหลายรูปแบบทั้งประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมธรรมชาติ ภูเขา และชายฝั่งทะเลที่สวยงาม และมีความพร้อมด้านสาธารณูปโภคพื้นฐาน เป็นต้นทุนในการพัฒนาการท่องเที่ยว (8) กลุ่มมหัศจรรย์สองสมุทร สุราษฎร์ธานี- นครศรีธรรมราช- พังงา- ภูเก็ต- กระบี่- ตรัง-สตูล- พัทลุง- สงขลา-ปัตตานี-ยะลา-นราธิวาส
พัฒนาเชื่อมการท่องเที่ยวใน 2 ฝั่งมหาสมุทร โดย1) ชายฝั่งอันดามัน กลุ่มจังหวัดภูเก็ต พังงา และกระบี่ เป็นศูนย์กลางแหล่งท่องเที่ยวทางทะเลแบบครบวงจร ให้มีความแข็งแกร่ง ในขณะเดียวกัน ต้องเร่งพัฒนาจังหวัดตรัง และสตูลเพื่อให้มีความพร้อมที่จะรองรับการกระจายตัวของนักท่องเที่ยวจากภูเก็ต อย่างสมดุลและมีประสิทธิภาพ 2)ชายฝั่งทะเลอ่าวไทย พัฒนาเกาะสมุย และเกาะพงัน เป็นศูนย์กลาง ควบคู่ไปกับการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวชายฝั่งทะเลอ่าวไทย รวมทั้งแหล่งท่องเที่ยวตามธรรมชาติบนบก และแหล่งวัฒนธรรม/โบราณสถาน และภูมิสังคมของภาคใต้ ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช การค้าชายแดนและการเชื่อมโยงการท่องเที่ยวตามกรอบความร่วมมือ(IMG-GT) (9) กลุ่มท่องเที่ยวเลียบแม่น้ำโขง เลย- หนองคาย- มุกดาหาร- นครพนม-อำนาจเจริญ-อุบลราชธานี พัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวและกิจกรรม ในจังหวัดที่มีพื้นที่ติดต่อกับแม่น้ำ โขงเพื่อรองรับการขยายตัวบริเวณพรมแดน เชื่อมโยงการท่องเที่ยวของประเทศไทย – ลาว (10) กลุ่มท่องเที่ยวเส้นทางไดโนเสาร์ อุดรธานี-หนองบัวลำพู-สกลนคร-ชัยภูมิ- ขอนแก่น-กาฬสินธุ์- มหาสารคาม- มุกดาหาร
พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวทางโบราณคดี ธรณีวิทยาในประเทศมุ่งสู่การเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้โลกดึกดาบรรพ์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (11) กลุ่มท่องเที่ยวมหัศจรรย์เส้นทางบุญ อุดรธานี-หนองบัวลำพู-สกลนคร-ชัยภูมิ- ขอนแก่น- มหาสารคาม- อุบลราชธานี- อำนาจเจริญ- ร้อยเอ็ด-ยโสธร
ส่งเสริมเส้นทางท่องเที่ยวเชิงศาสนา กิจกรรม ประเพณี ทั้งที่เป็นศาสนสถานสำคัญเชื่อมโยงกับประวัติความเป็นมาของเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียง (12) กลุ่มท่องเที่ยวอารยธรรมอีสานใต้ ชัยภูมิ- นครราชสีมา-บุรีรัมย์- สุรินทร์- ศรีสะเกษ- อุบลราชธานี
ฟื้นฟูและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวอารยธรรมอีสานใต้ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง
รวมทั้งเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวกับประเทศกัมพูชา (13) กลุ่มท่องเที่ยวเส้นทางอัญมณีและการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ปราจีน- ฉะเชิงเทรา- สระแก้ว- ชลบุรี- ระยอง- จันทบุรี- ตราด
ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตร และนาจุดเด่นของการแหล่งอัญมณีที่สำคัญของโลก พัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวในลักษณะที่มีเรื่องราว (Thematic Leisure) และรูปแบบการนำเสนอที่สอดคล้องกับความต้องการของนักท่องเที่ยว (14) กลุ่มท่องเที่ยว Active Beach ชลบุรี- ระยอง- จันทบุรี- ตราด
พัฒนาและสนับสนุนกิจกรรมการท่องเที่ยวทางทะเล ที่เน้นความสนุกสนาน ตื่นเต้น และความ
หลากหลายของกิจกรรมที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น สวนสนุก มอเตอร์สปอร์ตและกีฬาทางน้ำ เป็นต้น 4. การสร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่มด้วยการผลิตสินค้าและบริการทางการท่องเที่ยวภายใต้จุดแข็ง Value for Money ความคุ้มค่าสมราคา โดยการสร้างความแตกต่างให้กับสินค้าและบริการทางการท่องเที่ยวเพื่อสร้างคุณค่าของสินค้า ด้วยต้นทุนการผลิตที่ต่ำ เพื่อคงไว้ซึ่งจุดได้เปรียบของประเทศไทย และเป็นทางเลือกที่ดีให้กับนักท่องเที่ยวที่ต้องการเดินทางท่องเที่ยวในภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจที่ต้องคำนึงถึงการใช้จ่ายที่คุ้มค่าที่สุด ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่ตอบโจทย์ข้อนี้ได้เป็นอย่างดี

ยุทธศาสตร์ที่ 2 : สร้างการท่องเที่ยวที่ยั่งยืนโดยการมีส่วนร่วมเชิงการบูรณาการของชุมชนในระดับท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
กลยุทธ์ที่ 2.1 ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ (Ecotourism)
แนวทางการดำเนินงาน
1. จัดกิจกรรมท่องเที่ยวที่ให้นักท่องเที่ยวได้มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรทางการท่องเที่ยว เพื่อให้นักท่องเที่ยวเกิดความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม และตระหนักถึงความสำคัญของระบบนิเวศ เพื่อเป็นการสร้างรากฐานการท่องเที่ยวอย่างที่ยั่งยืน 2. การจัดการองค์ความรู้ในแหล่งท่องเที่ยวและให้ความรู้เพิ่มเติมกับนักท่องเที่ยวในเรื่องของความหลากหลายทางชีวภาพในสถานที่ท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่เป็นส่วนสำคัญที่ก่อให้เกิดระบบนิเวศที่สมบูรณ์ ตลอดจนการสนับสนุนการจัดกิจกรรมท่องเที่ยวที่ส่งผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพน้อยที่สุด เพื่อรักษาระบบนิเวศที่สมบูรณ์เอาไว้ 3. สนับสนุนการมีส่วนร่วมของชุมชนและคนในท้องถิ่น เพื่อปลูกฝังการช่วยกันดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในแหล่งท่องเที่ยวของตนเอง สร้างรากฐานการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ที่ยั่งยืนไว้กับชุมชนในท้องถิ่นและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ผ่านทางชุมชน และเพื่อเป็นตัวอย่างที่ดีแก่นักท่องเที่ยวที่มาเยือน
กลยุทธ์ที่ 2.2 สร้างองค์ความรู้ในการจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนให้กับชุมชนในท้องถิ่น
แนวทางการดำเนินงาน
1. สร้างศูนย์กลางในการเรียนรู้การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโดยการสร้างองค์ความรู้ของท้องถิ่น บูรณาการกับการส่งเสริมของภาครัฐเพื่อให้ชุมชนท้องถิ่นได้มีความรู้และมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวในชุมชน ให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนและพร้อมที่จะนำความรู้ที่มีถ่ายทอดสู่คนรุ่นหลัง 2. นำกลยุทธ์การบริหารแบบท้องถิ่น(Localization) มาเป็นกรอบแนวคิดและแนวทางในการบริหารจัดการ เพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโดยชุมชนท้องถิ่น ทั่วทั้งประเทศเพื่อให้เกิดความเป็นระบบระเบียบที่ชัดเจนและสอดคล้องกัน ในการวางรากฐานการจัดกาการท่องเที่ยวที่ยั่งยืนโดยชุมชนเพื่อชุมชน ซึ่งหลักสำคัญในการบริหารแบบท้องถิ่นที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน มีรากฐานมาจาก “เศรษฐกิจพอเพียง” ที่สามารถทำให้ท้องถิ่นหรือชุมชนดำเนินชีวิตอยู่ภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์หรือในยุค Globalization ได้ แนวความคิด Localization ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้คือ (1) การวางกลยุทธ์การพัฒนาการท่องเที่ยวที่ยั่งยืนโดยอาศัยข้อมูลจากท้องถิ่นนำข้อมูลและชุมชนนั้น (Localization of Information) (2) การสร้างเครือข่ายและองค์ความรู้ท้องถิ่น (Localization Network & Knowledge) (3) การพัฒนาหรือปรับเปลี่ยนผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยวเป็นไปตามแนวคิดของท้องถิ่น (Localization of Product) (4) การใช้ทรัพยากรจากท้องถิ่น (Localization of Resources) (5) การทำ CSR หรือการคืนกำไรให้กับท้องถิ่น (Localization of Image) (6) การสร้างความสัมพันธ์กันในท้องถิ่น (Localization of Relationship) (7) การบริหารงานการจัดการทรัพยากรโดยคนในท้องถิ่น (Localization of Human Resources)
กล่าวได้ว่า Localization และ Globalization เป็นสิ่งที่สนับสนุนกัน โดยอาจมองได้ว่า
Localization เป็นแนวทางการดำเนินธุรกิจเพื่อความยั่งยืนของชุมชน ทั้งนี้ควรเริ่มจากการพัฒนา
สินค้าตามแนวทางวิถีท้องถิ่นให้มีคุณภาพ รวมทั้งการบริหารจัดการให้มีมาตรฐาน จนเกิดความ
ชำนาญ แล้วจึงก้าวไปสู่ระดับนานาชาติ ทั้งนี้เป็นการสร้างธุรกิจให้คนท้องถิ่นให้มีอำนาจในการ
บริหารจัดการ อำนาจในการตัดสินใจ และส่วนร่วมในการวางแผน

กลยุทธ์ที่ 2.3 การสร้างความร่วมมือในแบบ บูรณาการ เพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวยั่งยืนให้ได้มาตรฐานและเป็นที่ยอมรับในระดับสากล
แนวทางการดำเนินงาน
1. สนับสนุนการการจัดมาตรฐานการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ (Ecotourism) ร่วมกับสหภาพ ยุโรป (EU) หรือโครงการ The Corporate Social Responsibility and Market Access Partnership for Thai Sustainable Supply Chains หรือเรียกชื่อย่อว่า CSR – MAP โดยในการจัดทำมาตรฐานการท่องเที่ยว เชิงอนุรักษ์ มีเกณฑ์มาตรฐาน คือ (1) ด้านการบริการ (2) การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (3) ศิลปวัฒนธรรม (4) การยังประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของชุมชน ในแง่ของการจัดการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน มีการได้วางแผนในการจัดทำและพัฒนา เพื่อรองรับโครงการเส้นทางท่องเที่ยวสีเขียวเชิงอนุรักษ์
ทั้งหมด 20 เส้นทางทั่วประเทศ และได้นำเสนอต่อ EU ซึ่งได้รับคัดเลือกจากคณะกรรมการ EU
4 เส้นทาง ประกอบด้วย ภาคเหนือ 2 เส้นทาง คือ จังหวัดเชียงรายและจังหวัดลำปาง ภาคกลาง
1 เส้นทาง และภาคอีสาน 1 เส้นทาง โดยในปัจจุบันได้นำทั้ง 4 เส้นทาง เปิดตลาดการท่องเที่ยวแบบ
Ecotourism สร้างขีดความสามารถทางการแข่งขันที่ได้มาตรฐานระดับสากล เพิ่มส่วนครองตลาดจากนักท่องเที่ยวยุโรปมากยิ่งขึ้น
2. จากแนวโน้มของนักท่องเที่ยวที่เลือกสถานที่ท่องเที่ยวที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมมากขึ้น จึงควรมีการพัฒนาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว “สีเขียว” โดยอาศัย 3 กลไกหลักๆได้แก่ โรงแรมใส่ใจสิ่งแวดล้อม ผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ และชุมชนท้องถิ่นที่ดำเนินการเรื่องการท่องเที่ยว ชุมชน ควรได้มีการพัฒนาตามแนวทางอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมสีเขียว โดยอาศัยความร่วมมือแบบบูรณาการจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
3. จัดโครงการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและระดมความคิดเกี่ยวกับการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน โดยการร่วมมือจากทุกภาคส่วนทั้งรัฐบาล ผู้ประกอบการและชุมชนในท้องถิ่น เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ และมุมมองในการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนให้ตรงต่อความต้องการของนักท่องเที่ยว

ยุทธศาสตร์ที่ 3 : พัฒนาบุคลากรทางการท่องเที่ยวให้มีศักยภาพ เพื่อเตรียมพร้อมการเคลื่อนย้ายแรงงานเสรีภาคบริการการท่องเที่ยว ในกลุ่มประเทศอาเซียน
กลยุทธ์ 3.1 จัดหลักสูตรการอบรมวิชาชีพทางการท่องเที่ยวโดยประเทศไทยเป็นศูนย์กลางในการอบรมแห่งอาเซียน
แนวทางการดำเนินงาน
1. เร่งจัดทำหลักสูตรอบรมวิชาชีพการท่องเที่ยว มาตรฐานอาเซียนโดยร่วมมือกับสถาบันทางการศึกษาในการช่วยกันพัฒนาหลักสูตรที่ได้มาตรฐานและเป็นที่ยอมรับในอาเซียนและระดับโลก
2. สร้างผลงานเพื่อสนับสนุนการเสนอตัวเป็นศูนย์กลางทางการฝึกอบรมวิชาชีพทางการท่องเที่ยว ให้กับบุคลากรด้านการท่องเที่ยวทั่วทั้งอาเซียน เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะในการเป็นแม่แบบทางวิชาชีพการท่องเที่ยวในอาเซียน
3. สร้างกรอบความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน ในการสนับสนุนให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการฝึกอบรมวิชาชีพด้านการท่องเที่ยว โดยการเตรียมความพร้อมในด้านต่างๆทั้งการสรรหาบุคลากรที่มีความสามารถ หรือผู้ฝึกสอนที่มีความรู้อย่างแท้จริงจากทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน
4. จัดทำหลักสูตร MRA (Mutual Recognition Agreement) ทางการท่องเที่ยว ให้มีความครอบคลุมทุกตำแหน่งงาน จากปัจจุบันที่มีการกำหนดหลักสูตร MRA 32 ตำแหน่งงาน จึงควรเพิ่มหลักสูตรท่องเที่ยวแห่งอาเซียน ให้ครอบคลุมตำแหน่งงานอื่นๆในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว เพื่อสร้างมาตรฐานบุคลากรทางการท่องเที่ยว ยกระดับบุคลากรอาเซียนให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล

กลยุทธ์ 3.2 เร่งพัฒนาสมรรถนะบุคลากรด้านการท่องเที่ยวของประเทศไทยให้มีศักยภาพในการแข่งขัน
แนวทางการดำเนินงาน
1. เร่งทำการอบรมหลักสูตรวิชาชีพทางการท่องเที่ยว เพื่อเพิ่มสมรรถนะให้กับบุคลากรด้านการท่องเที่ยวของประเทศไทยให้มีศักยภาพและได้มาตรฐาน เตรียมพร้องเข้าสู่การแข่งขันในตลาดแรงงานอาเซียน
2. พัฒนาเยาวชนที่กำลังศึกษาด้านอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว โดยร่วมมือกับสถาบันการศึกษาจัดหลักสูตรการเรียนการสอนสอดคล้องกับหลักสูตรวิชาชีพอาเซียน เพื่อให้เยาวชนที่เป็นกำลังของชาติได้มีโอกาสพัฒนาศักยภาพของตนเองให้เทียบเท่ามาตรฐานอาเซียน เตรียมพร้อมการเคลื่อนย้ายแรงงานเสรีอาเซียนและเป็นการประหยัดเวลา และงบประมาณที่จะพัฒนาบุคลากร เนื่องจากหลักสูตรวิชาชีพทางการท่องเที่ยวอาเซียนได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งในการเรียนการสอนของผู้ที่ศึกษาในสาขาวิชาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
3. เร่งสร้างการรับรู้การประชาสัมพันธ์อย่างทั่วถึง เพราะปัจจุบันบุคลากรทางด้านการท่องเที่ยวยังไม่ทราบข้อมูลการเคลื่อนย้ายแรงงานเสรีทางการท่องเที่ยว รวมถึงข้อมูลของการฝึกอบรมหลักสูตรวิชาชีพทางการท่องเที่ยว ทำให้เกิดความล่าช้าในการเตรียมความพร้อม การฝึกอบรมวิชาชีพทั้ง 32 ตำแหน่งงานจึงล่าช้าไปด้วย ผู้ที่ทราบข้อมูลจะเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรงเท่านั้น จึงควรมีการประชาสัมพันธ์อย่างทั่วถึง ให้ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยว และบุคลากรทางด้านการท่องเที่ยวได้ทราบโดยทั่วกัน โดยการสร้างเว็บไซด์ที่สามารถติดตามข่าวสารในเรื่องการเคลื่อนย้ายแรงงานเสรีด้านการท่องเที่ยว และการฝึกอบรมหลักสูตรวิชาชีพทางการท่องเที่ยว เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องสามารถติดตามข่าวสารได้อย่างทันเหตุการณ์ รวดเร็ว และถูกต้อง
4. การสร้างโอกาสในการพัฒนาสมรรถนะของบุคลากรด้านการท่องเที่ยวให้มีความเท่าเทียมกัน ทั้งผู้ที่กำลังศึกษาอยู่และบุคลากรที่ประกอบอาชีพแล้ว เพื่อขับเคลื่อนบุคลากรทางด้านการท่องเที่ยวของไทยทั้งหมดให้ก้าวเดินสู่มาตรฐานแรงงานอาเซียน และเพิ่มศักยภาพให้เหนือกว่าคู่แข่งขันในตลาดแรงงานอาเซียน

กลยุทธ์ 3.3 สนับสนุนการเคลื่อนย้ายแรงงานไทย ภาคการบริการทางการท่องเที่ยว ไปสู่ตลาดแรงงานอาเซียน
แนวทางการดำเนินงาน
1. สนับสนุนการส่งบุคลากรที่มีความสมารถในวิชาชีพด้านการท่องเที่ยวของประเทศไทย ไปยังตลาดแรงงานอาเซียน ในตำแหน่งที่เหมาะสม เพื่อเป็นการวางกลยุทธ์เชิงรุกในการเปิดตลาดทางด้านการท่องเที่ยวของไทยสู่อาเซียน บ่งบอกถึงความมีศักยภาพของการพัฒนาบุคลากรที่ได้มาตรฐาน
2. การรับบุคลากรหรือแรงงานทางด้านการท่องเที่ยวที่จะเข้ามาทำงานในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศไทย ควรมีการตรวจสอบสมรรถนะที่บุคลากรทางด้านการท่องเที่ยวได้จากการฝึกอบรม การได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นแรงงานอาเซียนให้ชัดเจนและโปร่งใส เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือในการปฏิบัติงาน และสร้างมาตรฐานที่ดีให้กับการบริการทางการท่องเที่ยวของประเทศไทย
3. ให้ความสำคัญกับการฝึกวิชาชีพทางการท่องเที่ยวที่มีมาตรฐาน และเร่งรัดให้มีการจัดการฝึกอบรมวิชาชีพเพื่อเพิ่มสมรรถนะ เตรียมความพร้อมที่จะส่งบุคลากรทางการท่องเที่ยวไทยออกสู่ตลาดแรงงานเสรีอาเซียน
4. รัฐบาลมีการจัดอบรมให้ความรู้กับผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวให้ทราบถึงโอกาสที่จะได้รับจากการเคลื่อนย้ายแรงงานเสรี และผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นกับธุรกิจการท่องเที่ยว เพื่อให้ผูประกอบการได้เตรียมความพร้อมเพื่อเพิ่มและพัฒนาศักยภาพของตนให้สามารถยืนหยัดและสามารถสร้างโอกาสจากการเปิดการเคลื่อนย้ายแรงงานเสรีภาคบริการทางการท่องเที่ยวในครั้งนี้

ยุทธศาสตร์ที่ 4 : การพัฒนากรอบความร่วมมืออันดีกับประเทศเพื่อนบ้านและอาเซียนในการอำนวยความสะดวกในการเดินทางท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยว
กลยุทธ์ที่ 4.1 สนับสนุนการเชื่อมโยงระดับอาเซียน (ASEAN Connectivity) เพื่อการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน
แนวทางการดำเนินงาน
1. สนับสนุนการเชื่อมโยงทางกายภาพระหว่างกันในอาเซียน หรือ ASEAN Connectivity เป็นเสมือนการก้าวสู่ประชาคมอาเซียนอย่างแท้จริง ทั้งการคมนาคม การสื่อสารแลกเปลี่ยนเทคโนโลยี โดยเฉพาะเรื่องของการท่องเที่ยว
2. เรียนรู้การเชื่อมโยงองค์กร ซึ่งเน้นการเชื่อมโยงระดับนโยบาย กระบวนการทำงานของแต่ละประเทศ ผ่านความร่วมมือความตกลงของอาเซียน ซึ่งความเชื่อมโยงด้านนี้จะช่วยให้ความเชื่อมโยงด้านกายภาพสมบูรณ์ มีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผลมากขึ้น
3. สร้างความเชื่อมโยงประชาชน เน้นการส่งเสริมการเรียนรู้และเข้าใจวัฒนธรรมและสังคมในกลุ่มอาเซียนมากขึ้น เนื่องจากประเทศสมาชิกกลุ่มอาเซียนยังมีความหลากหลายทางวัฒนธรรม สังคม ภาษา ศาสนาเพื่อให้มีความพร้อม และสร้างรากฐานความเข้าใจอันดี และสร้างความร่วมมือที่คำนึงถึงผละประโยชน์ร่วมกัน

กลยุทธ์ 4.2 ส่งเสริมการพัฒนาเส้นทางเชื่อมโยงระหว่างประเทศภายใต้กรอบความร่วมมืออาเซียน
แนวทางการดำเนินงาน
1. สนับสนุนและเร่งรัดการก่อสร้างเส้นทางเชื่อมโยงระหว่างประเทศในอาเซียนเพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทางของนักท่องเที่ยวให้สามารถเดินทางท่องเที่ยวทั่วภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้อย่างสะดวกเพื่อสร้างความดึงดูดใจในการเดินทางท่องเที่ยวในกลุ่มประเทศอาเซียนมากยิ่งขึ้น และเพื่อรองรับแนวโน้มการเจริญเติบโตทางด้านการท่องเที่ยวของโลกด้วย โดยเส้นทางเชื่อมโยงที่ควรมีการสนับสนุนและเร่งก่อสร้างที่เส้นทางโดยหลักๆแล้วแบ่งตามลักษณะภูมิศาสตร์ที่สำคัญ ดังนี้ (1) เส้นทางเชื่อมโยงอนุภาคลุ่มแม่น้ำโขง (Greater Mekong Sub-region Cooperation : GMS) โดยเส้นทางมีการเชื่อมโดยงระหว่างประเทศ ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม พม่า และประเทศจีนตอนใต้ (มณฑลยูนาน) ซึ่งเส้นทางที่ผ่านประเทศไทยมีทั้งสิ้น 3 เส้นทางหลัก ได้แก่ * เส้นทาง East-West Economic Corridor (EWEC) เป็นเส้นทางเชื่อมทะเลจีนใต้กับทะเลอันดามันความยาว 1,450 กิโลเมตร * เส้นทาง North-South Economic Corridor (NSEC) เป็นเส้นทางความยาว 1,800 กิโลเมตร เชื่อมโยงจีน ลาว และไทย * เส้นทาง Southern Economic Corridor (SEC) มีระยะทางประมาณ 1,000 กิโลเมตร เชื่อมโยงกรุงเทพฯ(ไทย)-พนมเปญ(กัมพูชา)-นครโฮจิมินห์ (เวียดนาม)
(2) เส้นทางเชื่อมโยงโครงการเส้นทางคมนาคมภายใต้ยุทธศาสตร์ ความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้านกัมพูชา - ลาว - พม่า - ไทย ( Ayeyawady - Chao Praya - Mekong Economic Cooperation Strategy: ACMECS) โดยมีเส้นทางหลักๆ ได้แก่ * เส้นทางคมนาคมเชื่อมโยง ไทย – พม่า * เส้นทางคมนาคมเชื่อมโยง ไทย - ลาว * เส้นทางคมนาคมเชื่อมโยง ไทย - กัมพูชา โดยเส้นทางเหล่านี้จะก่อสร้างเชื่อมโยงและอยู่ภายใต้กรอบ GMS เช่นเดียวกัน
(3) เส้นทางเชื่อมโยงสามเหลี่ยมเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคระหว่าง อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (Indonesia-Malaysia-Thailand Growth Triangle : IMT - GT) โดยมีการร่วมมือกันด้านการขนส่งทั้งทางบก ทางน้ำและทางอากาศเพื่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่สามารถอำนวยความสะดวกในการเดินทางให้กับนักท่องเที่ยวผ่าน 3ประเทศได้
2. สนับสนุนโครงการเชื่อมโยงเส้นทางกับประเทศเพื่อนบ้านนอกเหนือจากประเทศในกลุ่มอาเซียนทั้ง10ประเทศ เพื่อเป็นการเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างอาเซียนและกลุ่มเศรษฐกิจอื่น ร่วมทั้งยังเปิดโอกาสให้ประเทศไทยเป็น Gate Way ในการเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างอาเซียนกับกลุ่มเศรษฐกิจอื่นๆของโลก ตัวอย่างเส้นทางเชื่อมโยง เช่น การสร้างเส้นทางรถไฟภายใต้กรอบความร่วมมืออาเซียน+1 โดยการสร้างเส้นทางเชื่อมโยงจากลุ่มแม่น้ำโขงไปยังประเทศจีน เพื่อสร้างศักยภาพและอำนวยความสะดวกในการเดินทางของนักท่องเที่ยวในรูปแบบที่หลากหลาย
3. สนับสนุนการประสานงานและการดำเนินการร่วมวิเคราะห์ เส้นทางคมนาคมเชื่อมโยงการคมนาคมกับกลุ่มประเทศ BIMST-EC (Bay of Bengal Initiative for Multi-Sectoral Technical and Economic Cooperation) ได้แก่ บังกลาเทศ ภูฏาน อินเดีย พม่า เนปาล ศรีลังกา และไทย เพื่อเป็นช่องทางเปิดรับนักท่องเที่ยวจากตะวันออกกลางที่มีแนวโน้มการเดินทางท่องเที่ยวมายังทวีปเอเชียมากขึ้น ซึ่งช่วยในการเปิดมิติใหม่ทางการท่องเที่ยวที่ครอบคลุมโดยมีประเทศไทยเป็นศูนย์กลางประสานงานให้กับประเทศในอาเซียนและ BIMST-EC กลยุทธ์ที่ 4.3 พัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางการเดินทางในอาเซียน (Hub of ASEAN) จากทรัพยากรที่มีอยู่และความร่วมมือจากประเทศในอาเซียน
แนวทางการดำเนินงาน
1. สร้างและพัฒนาสนามบินสุวรรณภูมิในได้มาตรฐานเพื่อที่จะเป็นสนามบินนานาชาติที่เป็นศูนย์กลางทางอากาศยานของอาเซียน โดยการเพิ่มเที่ยวบินตรงจากประเทศไทยไปยังเมืองท่องเที่ยวหลักๆของประเทศในอาเซียน เพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทางท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยว ซึ่งหากมาที่ประเทศไทยแล้วสามารถเดินทางท่องเที่ยวต่อไปยังสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญๆในอาเซียนได้ทุกประเทศ
2. ส่งเสริมการจัดกิจกรรมเชื่อมความสัมพันธ์อันดีกับประเทศในกลุ่มอาเซียน เพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีและบ่งบอกถึงความพร้อมในการเป็นศูนย์กลางทางการท่องเที่ยวของประเทศไทย กับโครงการ ASEAN Family Rally โดยมีการเชิญผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวและผู้ที่เกี่ยวข้องของประเทศในกลุ่มอาเซียน มาทำกิจกรรมในประเทศไทย เพื่อให้ได้สัมผัสกับทรัพยากรท่องเที่ยวของไทย และศักยภาพความพร้อมในการรองรับนักท่องเที่ยวที่ได้มาตรฐานและมีประสิทธิภาพ
3. ส่งเสริมและสนับสนุนธุรกิจการจัดประชุมและจัดนิทรรศการ (MICE : Meeting Incentive Convention Exhibition ) ที่กำลังเติบโตอย่างมากในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวซึ่งนักท่องเที่ยวจากธุรกิจ MICE นี้จะเป็นนักท่องเที่ยวที่มีคุณภาพ มีความสามารถในการซื้อสูง ดังนั้นประเทศในอาเซียนควรมีการร่วมมือกันจับตลาด MICE โดยแสดงถึงศักยภาพความพร้อมของอาเซียน ซึ่งประเทศไทยจะได้เปรียบเพราะมีความพร้อม ทั้งเรื่องที่พัก สถานที่จัดประชุม การเดินทางที่สะดวก และสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ หากอาศัยความร่วมมือจากประเทศในอาเซียนช่วยกันพัฒนาตลาดธุรกิจ MICE จะเป็นโอกาสในการสร้างรายได้สู่ประเทศในอาเซียน และประเทศไทยอย่างมาก

กลยุทธ์ที่ 4.4 การอำนวยความสะดวกในการเดินทางผ่านประเทศในกลุ่มอาเซียน โดยประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการดำเนินงาน
แนวทางการดำเนินงาน
1. ผลักดันโครงการ Single Visa ให้มีการยอมรับในระดับอาเซียน เพื่อจัดทำ Single Visa การตรวจลงตราเดียว ใช้ในประเทศในกลุ่มอาเซียนเพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทางท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวที่จะเดินทางมาท่องเที่ยวในอาเซียนโดยปัจจุบันมีไทย และกัมพูชา ที่เป็นต้นแบบการทำ Single Visa และได้รับความสนใจจากกลุ่ม GMS เป็นอย่างมาก จากการจัดประชุม “GMS Tourism Promotion: Six Countries One Visa – One Destination” และได้เห็นชอบร่วมกันถึง 6 ประเทศที่จะมีการผลักดันการจัดทำ Single Visa เพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยว เสริมสร้างศักยภาพและแรงจูงใจในการเดินทางท่องเที่ยวในอาเซียน เปิดโอกาสให้ประเทศไทยได้มีส่วนร่วมในการเป็นศูนย์การทำ Single Visa เนื่องจากการเดินทางมาที่สะดวก เทคโนโลยีที่ก้าวหน้า และการเป็นประเทศต้นแบบที่ใช้ Single Visa
2. จัดการประชุมหารือ เกี่ยวกับเรื่องของการอำนวยความสะดวกในการผ่านแดนของอาเซียน กับประเทศสมาชิกอาเซียนทุกประเทศเพื่อร่วมมือกัน วางแผนโครงสร้างการเป็นผู้นำทางด้านการท่องเที่ยวของโลกโดยมีการจัดการ เรื่องการข้ามแดน,ระบบจราจร-ใบขับขี่, ผู้โดยสารเรื่องวีซ่า และการผ่านแดน, สินค้าที่ต้องแก้ไขด้วยระบบศุลกากร, อัตราแลกเปลี่ยน หรือ currency นักท่องเที่ยวการใช้เงินท้องถิ่น และสิ่งอำนวยความสะดวกในเขตชายแดน เพื่อสร้างรากฐานการท่องเที่ยวที่แข็งแรงและยั่งยืน
3. สร้างมาตรฐานการบริการผ่านแดนที่เป็นที่ยอมรับในสากลและมีมาตรฐานเดียวกันในกลุ่มประเทศอาเซียนสร้างกลไกการผ่านแดน-การตรวจโรคที่ง่ายและสะดวก โดยคำนึงถึงการบริการรวดเร็ว ความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว และความมั่นคงของประเทศในอาเซียนด้วย จึงต้องอาศัยความร่วมมืออย่างจริงจังเพื่อพัฒนาอาเซียนไปสู่ผู้นำด้านการท่องเที่ยวโลกอย่างแท้จริง

Similar Documents

Premium Essay

Tourism

...The Impacts of Tourism Establishing or developing a tourism industry has both benefits and costs. If these impacts are understood from the outset of planning, strengths and opportunities can be maximized while weaknesses and threats can be minimized. A list of potential costs and benefits are presented below. Each destination will be different in terms of tourism characteristics. The costs and benefits of tourism will vary in each destination and can change over time, depending on tourism and other activities in a destination’s local and regional context. Tables 4-1 present some of the positive and negative impacts of tourism. In 1999 more than 657 millions of people travel out of them frontiers in tourism travels. Based in the data of the Mundial organisation of tourism (MOT) the incomes were 449 billions of us dollars. The tourism employs more than 255 millions of workers in the whole world. (One of each nine workers). For the year 2010 the MOT hopes that will reach one zousand million of internationals tourists, and incomes of 1550 billions of us dollars. In 1999 France was the most visited destiny (70 million tourists), followed by Spain (51 million) and the United States country that registry the highest income by international tourism. The tourism is a very fragile business and events as the attacks of 11-S can damage the turistic season practically stopping the trips, or in the beach tourism especially in the Mediterranean, the climate conditions, condition the number...

Words: 2670 - Pages: 11

Premium Essay

Tourism

...University of Nairobi Faculty of Arts Marketing and Promotion of football as a form of sports tourism to help promote domestic tourism A case study of Nairobi County in Kenya By Moibi Hezron Mogaka Reg. No. Col/23019/2008 A dissertation submitted as a requirement in partial fulfillment for award of a bachelor of Arts degree in Tourism of University of Nairobi. Declaration (Dedication) I declare that this dissertation is my original work and has not been previously presented fior the award of the degree in any University. Student : Moibi Hezron Mogaka Signature : ______________________ Date : _______________________ Supervision : Ben Nyanchoga Signature : ______________________ Date : ______________________ I dedicate it to my family members Mr. and Mrs. Moibi and brothers Robinson and Naftal and also my Beloved friends. Chapter 1 Introduction Background Statement of the problem Research Question Objective of the study Broad objective Specific Objective Hypothesis Justification of the study Operational Definition of terms Chapter 2 Literature Reviews Theoretical Framework Chapter 3 Introduction Study Area The study population Methods of data collection Secondary data Observation Methods of data analysis classification groups and Tabulation through tables, graphs & Percentage Acknowledgement The completion of this work has been as a result of combined effort of various persons without whose contribution it would...

Words: 1080 - Pages: 5

Premium Essay

Tourism

...Economic impacts of Tourism Page # 1 Economic Impacts of Tourism Daniel J. Stynes Businesses and public organizations are increasingly interested in the economic impacts of tourism at national, state, and local levels. One regularly hears claims that tourism supports X jobs in an area or that a festival or special event generated Y million dollars in sales or income in a community. “Multiplier effects” are often cited to capture secondary effects of tourism spending and show the wide range of sectors in a community that may benefit from tourism. Tourism’s economic benefits are touted by the industry for a variety of reasons. Claims of tourism’s economic significance give the industry greater respect among the business community, public officials, and the public in general. This often translates into decisions or public policies that are favorable to tourism. Community support is important for tourism, as it is an activity that affects the entire community. Tourism businesses depend extensively on each other as well as on other businesses, government and residents of the local community. Economic benefits and costs of tourism reach virtually everyone in the region in one way or another. Economic impact analyses provide tangible estimates of these economic interdependencies and a better understanding of the role and importance of tourism in a region’s economy. Tourism activity also involves economic costs, including the direct costs incurred by tourism businesses, government...

Words: 11443 - Pages: 46

Premium Essay

Tourism

...Bangladesh Tourism Sector Bangladesh is endowed with so many natural beauties like sea beaches, park, forests, eco tourism, wild life sanctuaries, hill tracts areas, tea estates, and island etc. moreover, two international standard sea ports, hundreds of museums, have attracted people from all over the world. Bright historical background has blessed Bangladesh with so many historic places, heritages, monuments, historical buildings, and archaeological sites. Furthermore, picnic spots, bridges, amusement park, mosques, tombs, temples & monastery, and churches have made the country an ideal place for the tourists. Glory historic background and the combination of huge cultural ingredients welcome the interest group of education tours. Cheap labor, huge potentiality and availability of raw materials attract people of business tourism. Bishwa Ijtema, tombs and other pilgrim spots have encouraged people of religious tourism. Moreover, good medical services have invented people of medical tourism. Bangladesh is a new tourist destination on the map on the world. Bangladesh has enormous potential to develop tourism because of its attractive natural beauty and rich cultural heritage. Tourism can add value in the Bangladeshi economy if proper marketing plan and strategy can be built and implemented for this purpose. However, this industry fails to reach its destination due to adequate marketing practices. Bangladesh has archaeological, natural, ecological, cultural and other tourism products...

Words: 702 - Pages: 3

Free Essay

Tourism

...negative impacts of Tourism on Jamaica’s marine environment Introduction Tourism is the ability of the tourist to select the activities they want to indulge in when visiting a country. It is the largest and fastest growing industry in the world. Tourism is both Jamaica’s fastest growing industry and the largest foreign exchange earner. The country’s natural resources such as its golden sunshine, beaches, flora and fauna and rivers, are the primary selling points for tourists. Tourism and the environment have a very complex and interdependent relationship as it is the quality of the environment that will determine the success of the tourism industry since it is our main attraction. Agencies responsible for Jamaica’s Tourism industry include Jamaica Tourist Board (JTB) and the Tourism Product Development Company (TPDCo). The Jamaica Tourist Board is charged with a mission of marketing the tourism product so that Jamaica remains the premier Caribbean tourism destination. They position Jamaica as the most complete, unique and diverse warm weather destination in the world, which offers the best vacation value available. The Tourism Product Development Company (TPDCo), is a world class product development company contributing to a diverse, enhanced tourism product and visitor experience, resulting in an improved quality of life for all Jamaicans. Debate Three (3) arguments for: * It is the largest and fastest growing industry in the world. Tourism is both Jamaica’s fastest...

Words: 1110 - Pages: 5

Premium Essay

Tourism

... training and knowledge that employers seek and desire, one should have an in-depth understanding of oneself for the realization of his dreams. These dreams come first in his yearnings which gradually arise during his childhood years. From a wide array of courses, tourism is undoubtedly one of those selections that continuously interests students. Tourism is a truly global phenomenon and a resilient industry which has survived all major economic and political crises worldwide. (http://www.ucnorth.dk/Home/Programmes-Course/Service-Hospitality-Tourism_Management). The tourism industry is in fact one of the biggest and fastest growing worldwide. That means that the business of tourism creates numerous direct and supporting jobs. Tourism plays an extremely important role in a countries economy. (http://en.wikipedia.org/wiki/Tourism_in_the_Philippines). The tourism industry in the country has been a great help in creating more job opportunities especially to tourism graduate students who can venture in the various tourism fields such as travel agency, tour operations, airline/cruise ship companies, marketing and even customer services. To sustain this phenomenal growth in the hospitality and tourism industry, the need to provide quality service and product is at most importance.According to Richardson (2008); “Without employees having a positive attitude towards their work there is minimal chance for the organization to achieve customer satisfaction and loyalty”.  ...

Words: 338 - Pages: 2

Free Essay

Tourism

...Running Head: TOURISM DEVELOPMENT Tourism Development and Planning [Name of the Writer] [Name of the Institute] Tourism Development and Planning Introduction Tourism is defined as those friendly tourist activities with the natural, cultural and social and community values, which allows you to enjoy a positive exchange of experience among residents and visitors, where the relationship between tourists and the community is fair and benefits the activity is distributed fairly, and where visitors have a truly participatory attitude in their travel experience. Tourism is fundamental for the economy of many regions, like Thailand. Because tourism involves attracting foreign exchange, it is generally the only means of economic development for some nations. It provides an opportunity for development, employment marketing and sale of local goods etc. It also helps in creating service industries, which are crucial for the development of a region. Many evolving nations like the overview of tourism as a vehicle for financial development, granted its promise to profit from foreign exchange, decrease earnings and paid work disparities, reinforce linkages amidst financial parts and assist to alleviate poverty. The dispute opposite policy maker is to have a broader viewpoint and better comprehending, that there can be both affirmative and contradictory consequences from tourism development. Tourism, in fact, has a number of features that make it an activity to be...

Words: 4386 - Pages: 18

Premium Essay

Tourism

...Overall tourism in Sri lanka Sri Lanka has always been a tourist destination. The number of tourists visiting to the Sri lanka has been consistently increasing rapidly in past few years and the countries of Asia and the Pacific now receive more visitors than any region, other than Europe. With the expansion of tourism, the region captured nearly one quarter of total global tourist arrivals in 2013. The number of tourists has increased in every country (for which data are available) of Asia and the Pacific in the 10 years from 2004 to 2013 Source –Tourism Research Today, Sri Lanka offers leisure and business travellers a spectrum of attractions. The commercial cities, Colombo, Kurunegala and Kandy offer business travellers an array of business opportunities and trade options. The sandy white beaches and attractive underwater life that surrounds the island, gives its visitors a chance to unwind and relax in a warm and comfortable setting. The beautiful rain forests, mountain ranges and scenic plantations can be visited within a few hours (approx. 4-5 hours travel time), and visitors can also visit the wildlife sanctuaries that are located in this small miracle. Source - 2012 annual statistical report by SLTDA According to the above mentioned graph, in 2012 lot of tourists were come to sri lanka for pleasure. Second and third places were taking for Visting friends & Relations...

Words: 1857 - Pages: 8

Premium Essay

Tourism

...Discuss the socio – cultural impacts of the tourism development using examples from the country of your own choice This essay will argue that Lithuania has many positive and negative social and cultural impacts on the tourism industry. In these days tourism became one of the most important in economic, social and cultural environment. People pay attention in these things because they are also very important to develop any business. Tourism is very significant for countries, because it may bring a lot of money if it will be developing properly. First of all, talking about Lithuania’s social positive impacts: people are travelling to different countries to find something new in other cultures, traditions, to see different environment and to meet different people and to know something new. This is like a positive impact in tourism industry, because they bring something new too. Lithuania is a small country, but it has socio – cultural positive things, such as, meaningful leisure, improving the public and also work in communities, because people all the time with each other and that make the country stronger and stronger. These things make positive impacts, because social tourism is about people and their activities. People, who comes to new country should adapt to that country’s customs, traditions, social environment but also should not lose their own. As it was mention before, Lithuania is a small Scandinavian country, where is about just 3,000,000 people. So there is not...

Words: 1789 - Pages: 8

Premium Essay

Tourism

...surrounding areas, rows of coconut trees, boats of different kinds and their colorful sails, and surfing waves. Kuakata is also a sanitary for migratory winter birds. Many people visiting Kuakata find interest in Buddhist temples located at nearby places such as Keranipara, Mistiripara, and Kolapara. While many others find the place interesting because of the unique customers and traditions of the Rakhain community. 1.2 Objectives of the Study: As a student of Tourism and Hospitality Management, we should have to gather more experience beside our study. The major objectives of this term paper are to highlight the real picture and description of the different tourist spots in Kuakata and to identity the present situation. A clear objective help in preparation of well decorate term paper in which others take right type of decisions: 1. To know about KUAKATA as a tourism destination 2. To know about tourism facilities and opportunities in KUAKATA. 3. To identify the problems to the development of tourism in KUAKATA. 4. To provide necessary suggestions and policy implications for the development of...

Words: 5599 - Pages: 23

Free Essay

Tourism

...Critically Assess the Theory and Practice of Strategic Planning in Tourism. Area of focus: Egypt Presented to the University of Sunderland Degree: International Tourism and Hospitality Management Student registration number: TABLE OF CONTENT Cover page......................................................................................Page 1 Table of Content.............................................................................Page 2 Abstract/Introduction.....................................................................Page 3 Introduction/Overview of Tourism in Egypt...............................Page 4 Overview of Tourism in Egypt/Tourism Planning in Egypt.........Page 5 Tourism Planning in Egypt........................................... Page 5,6,7,8,9,10 The Success of cultural events as promotional tool of Egypt..................................................................................Page 10 Conclusion and Recommendations...............................................Page 11,12 References...........................................................................................Page 12,13 ABSTRACT Tourism is considered to have a great strategic importance for any economy owing to its capacity for job creation and wealth generation. If a country creates an efficient strategic tourism plan and implement it in true letter and spirit, it can be a source...

Words: 5508 - Pages: 23

Premium Essay

Tourism

...~ UTTERWORTH E I N E M A N N 0261-5177(95)00082--8 Tourism Management, Vol. 16, No. 8, pp. 593-61)4, 1995 Copyright © 1995 Elsevier Science Ltd Printed in Great Britain. All rights reserved 11261-5177/95 $10.0(1 + 0.00 Alternative tourism in Montserrat David B Weaver Luther College, University of Regina, Regina, Saskatchewan, Canada $4S 0.42 Small island states or dependencies have increasingly turned to international mass tourism as a strategy for overcoming their underdeveloped status. However, mounting criticism of this sector has increased the interest in alternative tourism. The Caribbean island of Montserrat is well positioned to implement an ecotourism strategy based on the island's scenic beauty, biodiversity and historical/cultural attributes. This would augment an already unconventional tourism product emphasizing low-density residential tourism. The fact that few tangible initiatives have so far been taken in the direction of ecotourism is not problematic, since careful planning is advisable given the risks inherent in any form of tourism, and given existing and potential problems which could threaten its viability. A Montserrat Heritage Trail network is proposed as the centrepiece of this ecotourism product, while various marketing and institutional initiatives are recommended. Keywords: Montserrat, alternative tourism, ecotourism, small islands Peripheral regions are continuously struggling to identify activities which will contribute to the goals...

Words: 9141 - Pages: 37

Free Essay

Tourism

...GOVERNMENT OF INDIA MINISTRY OF TOURISM & CULTURE DEPARTMENT OF TOURISM MARKET RESEARCH DIVISION FINAL REPORT ON 20 YEAR PERSPECTIVE PLAN FOR DEVELOPMENT OF SUSTAINABLE TOURISM IN MAHARASHTRA MARCH 2003 ΑΒΧ DALAL MOTT MACDONALD (FORMERLY DALAL CONSULTANTS & ENGINEERS LIMITED) Study Report on Preparation of 20 Years Perspective Plan for Development of Sustainable Tourism in Maharashtra Dalal Mott MacDonald Joint Director General (MR), Department of Tourism Joint Director General (MR), Department of Tourism Ministry of Tourism & Culture C-1, Hutments, Dalhousie Road New Delhi – 110 001 India Study Report on Preparation of 20 Years Perspective Plan for Development of Sustainable Tourism in Maharashtra March 2003 Dalal Consultants & Engineers Limited Sarojini House 6 Bhagwan Dass Road New Delhi 110 001 India Tel: (011)-3389386, 3383521. 1441/Maharashtra/A/18 July 2002 C:\websiteadd\pplan\maharashtra\Vol 1\Executive Summary Final.doc/01 Study Report on Preparation of 20 Years Perspective Plan for Development of Sustainable Tourism in Maharashtra Dalal Mott MacDonald Joint Director General (MR), Department of Tourism Study Report on Preparation of 20 Years Perspective Plan for Development of Sustainable Tourism in Maharashtra ssue and Revision Record Rev Date Originator Checker Approver Description This document has been prepared for the titled project or named part thereof and should not be relied upon or used for any other project without...

Words: 86033 - Pages: 345

Premium Essay

Tourism

...Negative Impact Of Tourism On ( Language ) , ( Religion ) And ( Customs And Tradition ) | | | | <Name> | | <Date> | | Introduction Tourism is unarguably one of the most dynamic and developing sectors earning a myriad of countries across the globe millions of dollars in different forms. A number of countries have benefited from infrastructural development, currency inflows, educational and management skills associated with tourism. Citizens from these countries have as well gained from various employment opportunities resulting from economic development of the regions visited by tourists. Some of the highly developed Western nations such as Switzerland, Italy, and Austria have attributed most of its economic and social welfare development to tourism. (Smith, 2006) Currently, it is approximated that tourism contributes to 10% of global income with at least 10% of the world workforce earning their daily bread from the sector. Viewed as ‘manna from heaven’ most analysts perceive tourisms as a way of balancing foreign trade and as a source of foreign exchange with minimal discussion on the negative challenges it’s associated with. The discussion in this paper will mainly focus on the negative challenges of tourism with deep analysis on language, religion, customs and tradition, drawing examples from various countries known as tourist destinations across the globe. P.62 Discussion One of the strongest signs of negative impacts to tourism is on language spoken...

Words: 1912 - Pages: 8

Free Essay

Tourism

...Surigao del sur state university Main-campus A Requirement For Tourism 1 Five tourism supply components Submitted by: Roselyn Q. Timkang 4:00-5:00 (MWF) Submitted to: Mr. Rudyard Ryann T. Verano, MBA instr Natural resources Discussion: Natural resources is significant in the development of the tourism, because it can attract tourist especially in terms of those beautiful spots such as water falls, lakes, islands and many beautiful spots that can there feel enjoyed and relax. A Philippines have the most number of beautiful sites and spots, so we must have to improve and develop our natural resources, we should maintain its beauty so that we can benefit from it. Surigao del sur state university Main-campus A Requirement For Tourism 1 Five tourism supply components Submitted by: Roselyn Q. Timkang 4:00-5:00 (MWF) Submitted to: Mr. Rudyard Ryann T. Verano, MBA instructor Hospitality Resources Discussion: Philippines are best known for our hospitality, Filipino are hospitable, it is important for the country to have those kind of manner so that tourist will feel at home, relax and enjoyed. This is the best asset of every Filipino that tourist and investors...

Words: 388 - Pages: 2