Free Essay

รูปแบบการเขียนรายการอ้างอิงประกอบการค้นคว้า วิจัย และงานเขียนทางวิชาการ

In:

Submitted By marbel
Words 830
Pages 4
รูปแบบการเขียนรายการอ้างอิงประกอบการค้นคว้า วิจัย
และงานเขียนทางวิชาการ

วัลลภา เตชะวัชรีกุล* การอ้างอิงเอกสารในงานเขียนทางวิชาการ งานค้นคว้าวิจัย การเขียนรายงาน ตลอดจนการเขียนวิทยานิพนธ์ และการค้นคว้าแบบอิสระของนักศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา มักมีการใช้เอกสารประเภทต่าง ๆ ประกอบการเรียบเรียง รวบรวมประเด็น สรุปเรื่องราว ตัดต่อหรือคัดลอกข้อความจากเอกสารเหล่านั้นมาเขียนไว้ในงานเขียนของตน พร้อมทั้งแสดงแหล่งที่มาของข้อมูลไว้ด้วย ซึ่งเรียกว่า “การอ้างอิง (Citation)” ส่วนรายชื่อเอกสารต่างๆ ที่ผู้เขียนนำมาเขียนอ้างอิงไว้ในเนื้อหาตอนใดตอนหนึ่ง และมีการรวบรวมไว้ในตอนท้ายของงานเขียน เรียกว่า “รายการอ้างอิง (References)” แต่ถ้าเป็นรายชื่อเอกสารที่ผู้เขียนใช้ประกอบการศึกษาค้นคว้า แล้วนำมาเรียบเรียงเป็นข้อเขียน โดยไม่ปรากฏในตอนใดของงานเขียน หรือไม่มีการอ้างอิงในเนื้อหาเรียกว่า “บรรณานุกรม (Bibliography)”

โดยทั่วไปรูปแบบการลงรายการอ้างอิงจะจำแนกตามประเภทของเอกสาร เช่น การอ้างอิงแหล่งข้อมูลที่ปรากฏในหนังสือ บทความในหนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ วิทยานิพนธ์ จุลสาร การสัมภาษณ์ สิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ และข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต เป็นต้น ซึ่งการอ้างอิงเอกสารและแหล่งต่างๆ ในงานเขียนนั้น สามารถเลือกทำได้มากกว่า 1 รูปแบบ ในแต่ละรูปแบบจะมีข้อดีข้อเสียและความสะดวกในการลงรายการแตกต่างกันไป และช่วยให้ผู้อ่านทราบถึงแหล่งข้อมูลหรือเอกสารที่ถูกอ้างถึงในขณะอ่านงานเขียน อีกทั้งยังช่วยให้การหาเอกสารนั้นได้พบ จากรายการอ้างอิงที่รวบรวมไว้ในตอนท้ายของงานเขียน และในการแนะนำรูปแบบการเขียน รายการอ้างอิงในบทความฉบับนี้ ผู้เขียนขอแนะนำวิธีการอ้างอิงแบบแทรกในเนื้อหา โดยเฉพาะ อย่างยิ่งระบบนาม - ปี (Name - Year System) ซึ่งเป็นวิธีที่ง่ายต่อการทำความเข้าใจ และสะดวกในการติดตามเอกสารจากรายการอ้างอิงอย่างมีหลักการ ดังมีรายละเอียดในการลงรายการ ดังนี้

รูปแบบการอ้างอิงแบบแทรกในเนื้อหา การอ้างอิงเอกสารแบบแทรกในเนื้อหา เป็นการระบุนามผู้แต่ง และปีที่พิมพ์ของเอกสารไว้ในเนื้อความหรือเนื้อเรื่อง อาจจะระบุไว้ ตอนต้น หรือ ตอนท้าย ของข้อความ มีรายละเอียดของการลงรายการดังนี้
------------------------------------------------------------------
* บรรณารักษ์ห้องสมุดคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 1. การอ้างเอกสารหนึ่งเรื่องที่มีผู้แต่ง 1 คน หากมีการอ้างถึงเอกสารนั้นทั้งงานโดยรวม ให้ระบุนามผู้แต่งและปีที่พิมพ์แทรกไว้
ในตำแหน่งที่เหมาะสม กล่าวคือ ถ้าระบุนามผู้แต่งไว้ในเนื้อความ ให้อ้างปีที่พิมพ์ไว้ในวงเล็บ หรือ ให้ระบุทั้ง นามผู้แต่ง ปีที่พิมพ์ และเลขหน้า ของเอกสารนั้นในวงเล็บ ดังตัวอย่าง

2. การอ้างเอกสารหนึ่งเรื่องที่มีผู้แต่ง 2 คน การอ้างอิงเอกสารที่มีผู้แต่ง 2 คน ให้ระบุนามผู้แต่งทั้ง 2 คน และทุกครั้งที่มีการอ้างถึง
ให้ใช้คำว่า และ หรือ and เชื่อม นามผู้แต่ง ระบุปีที่พิมพ์ และเลขหน้า ในตอนท้ายหรือในวงเล็บดัง ตัวอย่าง

3. การอ้างอิงเอกสารหนึ่งเรื่องที่มีผู้แต่ง 3 คน เมื่อมีการอ้างถึงเอกสารที่มีผู้แต่ง 3 คน ครั้งแรก ให้ระบุนามผู้แต่งทุกคนและเมื่ออ้าง
ถึงครั้งต่อไปให้ระบุนามผู้แต่งคนแรก ตามด้วย et al. หรือ and others สำหรับเอกสารภาษาอังกฤษ ส่วนเอกสารภาษาไทยให้ใช้ และคณะ หรือ และคนอื่นๆ ดังตัวอย่าง

4. การอ้างเอกสารหนึ่งเรื่องที่มีผู้แต่งมากกว่า 3 คน ในการอ้างถึงเอกสารที่มีผู้แต่งมากกว่า 3 คนทุกครั้ง ให้ระบุเฉพาะ นามผู้แต่งคนแรก
พร้อมกับคำว่า et al. หรือ and others สำหรับเอกสารภาษาอังกฤษ ส่วนเอกสารภาษาไทยให้ใช้คำว่า และคณะ หรือ และคนอื่น ๆ ดังตัวอย่าง :

5. การอ้างเอกสารที่ผู้แต่งเป็นสถาบัน / นิติบุคคล การอ้างเอกสารที่มีสถาบัน หรือองค์กรนิติบุคคลเป็นผู้แต่งแทรกในเนื้อหา ให้ระบุ
นามผู้แต่งที่เป็นสถาบัน ปีที่พิมพ์ และเลขหน้า ตามลำดับ การลงรายการชื่อผู้แต่งถ้าสถาบันนั้นเป็นหน่วยงานของรัฐบาล อย่างน้อยต้องเริ่มต้นที่ระดับกรม ดังตัวอย่าง

6. การอ้างเอกสารหลายเรื่องที่เขียนโดยผู้แต่งคนเดียวกัน เมื่ออ้างเอกสารหลายเรื่องหรือหลายเล่มที่เขียนโดยผู้แต่งคนเดียวกันแต่ปีพิมพ์ต่างกัน
ให้ระบุนามผู้แต่งครั้งเดียว ระบุปีที่พิมพ์ และเลขหน้า ตามลำดับโดยใช้เครื่องหมาย อัฒภาค (;) คั่นระหว่างปี ดังตัวอย่าง

7. การอ้างเอกสารที่ไม่ปรากฏผู้แต่ง วิธีการอ้างถึงเอกสารที่ไม่ปรากฏผู้แต่ง หรือใช้นามแฝง ผู้แปล ผู้รวบรวม หรือ
บรรณาธิการ มีวิธีการเขียน ดังนี้

8. การอ้างถึงส่วนหนึ่งของหนังสือรวมบทความ การอ้างถึงส่วนหนึ่งหรือบทหนึ่งของหนังสือประเภทรวมบทความ หรือหนังสือ 1 เล่ม
มีผลงานของผู้เขียนหลายคน และมีผู้รับผิดชอบในการรวบรวม หรือทำหน้าที่บรรณาธิการ ให้ระบุเฉพาะชื่อผู้เขียนบทความ หรือส่วนที่ต้องการอ้างอิง ปีที่พิมพ์ และเลขหน้า

9. การอ้างเอกสารที่มีลักษณะพิเศษ เอกสารที่มีลักษณะพิเศษ ได้แก่ โสตทัศนวัสดุ แฟ้มข้อมูลคอมพิวเตอร์ แผนที่
รายการวิทยุ/โทรทัศน์ เป็นต้น มีหลักการลงรายการ คือ ให้ระบุลักษณะพิเศษของเอกสารนั้น

กล่าวโดยสรุปแล้วการอ้างอิงแบบแทรกในเนื้อหารูปแบบต่าง ๆ ข้างต้น จะให้ประโยชน์ในด้านการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล และเป็นการอ้างถึงงานที่สนับสนุนเกี่ยวข้องกับงานเขียนในเชิงวิชาการ ดังนั้น เมื่อเรียบเรียงเนื้อหางานเขียนเสร็จสมบูรณ์แล้ว เอกสารและแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ที่นำมาเขียนอ้างอิง จะถูกนำมาเรียงลำดับอักษรตามหลักพจนานุกรม และรวบรวมเป็น รายการอ้างอิง (References) หรือ บรรณานุกรม (Biblographics) ไว้ในตอนท้ายของตัวเล่ม โดยมีรูปแบบการลงรายการ ที่แตกต่างกันไปตามประเภทของสิ่งพิมพ์ ดังนี้

รูปแบบการเขียนรายการอ้างอิง/บรรณานุกรม รายการอ้างอิงมีประโยชน์ในการให้ข้อมูลที่จำเป็นสำหรับผู้สนใจได้ติดตามเอกสาร และแหล่งต่าง ๆ ที่อ้างถึงในงานเขียนได้ถูกต้อง ดังนั้นรายการอ้างอิงจะต้องตรงกับการอ้างอิงที่ปรากฏในเนื้อหาภายในเล่ม วิธีที่จะให้แน่ใจว่าข้อมูลในรายการอ้างอิงที่ถูกต้องและสมบูรณ์คือ ให้ตรวจสอบรายการอ้างอิงแต่ละรายการกับการอ้างที่ปรากฏในเนื้อหาและกับเอกสารต้นฉบับที่นำมาอ้าง

การลงรายการอ้างอิง หรือการเขียนบรรณานุกรมมีหลายรูปแบบ ในที่นี้จะได้นำแบบแผนการเขียนเอกสารอ้างอิงตามแบบแวนคูเวอร์ (Vancouver Style) และภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปรับปรุงใช้ใน พ. ศ. 2545 ซึ่งปัจจุบันได้รับความนิยมในการใช้ พร้อมแสดงตัวอย่าง ดังนี้

1. หนังสือ

• กุณฑลี เวชสาร. 2545. การวิจัยการตลาด. พิมพ์ครั้งที่ 3 . กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่ง- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. • เกษียร เตชะพีระ. 2542ข. ชาวศิวิไลซ์ : การเมืองวัฒนธรรมไทยใต้เงาไอเอ็มเอฟ. กรุงเทพฯ : มูลนิธิโกมลคีมทอง. • ________ . 2542ก. ถิ่นกาขาว: เศรษฐกิจการเมืองไทยใต้เงาไอเอ็มเอฟ. กรุงเทพฯ : มูลนิธิโกมลคีมทอง. • ศศิวิมล สุขบท. 2545. การตลาดระหว่างประเทศ. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. • ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. 2541. การวิจัยธุรกิจ. กรุงเทพฯ: เพชรจรัสแสงแห่งโลกธุรกิจ. • สถาพร บุญมาก. 2540. “องค์การบริหารระบบราชการ.” ใน สร้อยตระกูล ติวยานนท์. การบริหารสาธารณบริหารศาสตร์. หน้า 18-30. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. • เฮ็มมิงเวย์, เออร์เน็สต์. 2538. เฒ่าทะเล. แปลโดย อาษา ขอจิตเมษต์. กรุงเทพฯ: ดวงกมล. • Cateora, Philip R. and Graham, John. 2002. International Marketing. 3rd ed. Boston: McGraw Hill. • Cox, Gary W. and Kernell, Samual. 1991. The Politics of Divided Government. San Francisco: Westview Press. • Kotler, Philip. 2003. Marketing Management. 11th ed. Upper Saddle River, NJ: Prentice-Hall.

2. วารสาร

□ วิกุล แพทย์พาณิชย์. 2545. “ธุรกิจแฟรนไชส์.” เนชั่นสุดสัปดาห์ 4, 8 (15-21 สิงหาคม): 8-11. □ Wittman, Donald. 2002. “Parties as unity maximizers.” American Political Science Review. 8, 3 (September ): 18-28.
3. หนังสือพิมพ์

□ สุทธิชัย หยุ่น. 2545. “บทบาทของสื่อมวลชนกับสังคมไทย.” ผู้จัดการรายวัน. (11 กันยายน ): 12. □ “ปัญหาขยะในเมืองเชียงใหม่.” 2545. ไทยนิวส์. (15 สิงหาคม): 1, 16.

4. วิทยานิพนธ์

• นลินี จารุกาญจนกิจ. 2540. การจัดการเชิงกลยุทธ์เพื่อพัฒนาการจัดการศึกษาระดับบัณฑิต ศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. • วิชัย ศิริอุทยานนท์. 2545. ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจของผู้มี อำนาจซื้อ ในการซื้อกระเบื้องเคลือบดินเผามุงหลังคา ของวัดในจังหวัดเชียงใหม่. การ ค้นคว้าแบบอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. • สิทธิชัย จึงสกุลรุจิเวช. 2543. การพัฒนาเครือข่ายอินทราเน็ต : กรณีศึกษาธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน). การค้นคว้าแบบอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

5. การสัมภาษณ์

□ ทักษิณ ชินวัตร. นายกรัฐมนตรี. สัมภาษณ์. 17 สิงหาคม 2545. □ ปรีดิยาธร เทวกุล, ม.ร.ว. ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย. สัมภาษณ์. 21 เมษายน 2545. □ Polsby, Nelson W. Associate Director, Institute of Southeast Asia Study, Cornell University. Interview. 5 June 2002.

สื่อไม่ตีพิมพ์ ได้แก่ โสตทัศนวัสดุประเภท ฟิล์มภาพยนตร์ สไลด์ เทปบันทึกเสียง ฟิล์มสตริป ภาพยนตร์ รายการวิทยุ รายการโทรทัศน์ วีดิทัศน์ และแฟ้มข้อมูลคอมพิวเตอร์ รวมถึงแหล่งข้อมูลในอินเทอร์เน็ต เป็นต้น มีรูปแบบการลงรายการแตกต่างกันดังมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้

6. สื่อโสตทัศนวัสดุ เช่น ซีดี - รอม / เทปตลับ / วีดิทัศน์

• สำนักงานสถิติแห่งชาติ. 2544. สมุดสถิติรายปีประเทศไทย บรรพ 47 2543. [ซีดี-รอม]. กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ. • อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ. 2541. แนวทางการจัดการคุณภาพมหาวิทยาลัยในทศวรรษหน้า. [เทปตลับ]. กรุงเทพฯ: ทบวงมหาวิทยาลัย. • Langrod, Georges. 1989. Problems of Freedom and Behavior Modification. [Video Recording]. Washington, DC: American Psychological Association. • "Treading information." 2002. Listed company info 2001 (Q3 - Q 4). [CD - ROM]. Bangkok: The Stock Exchange of Thailand.

7. ฐานข้อมูลออนไลน์จากอินเทอร์เน็ต (World Wide Web)

□ “คำแถลงนโยบายรัฐบาลของคณะรัฐมนตรี พ.ต.ต. ดร. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี.” 2543. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.mof.go.th/social/mof_newgov_policy.htm (26 กุมภาพันธ์ 2544). □ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. คณะบริหารธุรกิจ. 2545. "รายงานประจำปี 2544." [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.ba.cmu.ac.th/annualreport/index.html (15 พฤศจิกายน 2545). □ “Cell of the Immune System.” 2002. [Online]. Available http://www. Ingress.com (12 April 2003). □ Huhes, Helen. n.d. “Perspectives for an integrating world economy: Implication for preform and development.” [Online]. Available http://iseas.ac.sg/econ.html (1 June 2002).

รูปแบบการเขียนรายการอ้างอิง เพื่อประกอบการค้นคว้า วิจัย และงานเขียนทางวิชาการที่นำมากล่าวในรายละเอียดข้างต้นนั้น เป็นเพียงรูปแบบหนึ่ง ที่ผู้เขียนได้พิจารณาคัดเลือกรูปแบบที่ใช้ง่าย ไม่ซับซ้อน และสะดวกในการลงรายการ แต่ยังมีคู่มือการลงรายการอ้างอิงเล่มอื่น ๆ โดยผู้สนใจสามารถค้นคว้าเพิ่มเติมได้ จากรายการบรรณานุกรมตามที่ได้แนบท้ายบทความนี้

บรรณานุกรม

จิราภรณ์ จันทร์คำ. 2539. การอ้างอิงเอกสาร. เชียงใหม่: ห้องสมุดคณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย. งานมาตรฐานการศึกษา. 2544. คู่มือการพิมพ์วิทยา- นิพนธ์. กรุงเทพฯ: งานมาตรฐานการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. คณะมนุษยศาสตร์. ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์. 2545. การเข้าถึง ทรัพยากรสารสนเทศและการเขียนรายงาน. เชียงใหม่: ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. บัณฑิตวิทยาลัย. 2544. คู่มือวิทยานิพนธ์. เชียงใหม่: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Turabain, Kate L. 1973. A Manual for Writers of Term Paper Thesis and Dissertation. 4th ed. Chicago : The University of Chicago Press.

-----------------------
Gates (1999 : 3) กล่าวถึงสำนักงานไร้กระดาษ (Paperless office) นั้น เกิดจากเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital) ที่ปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิต และกระบวนการทางธุรกิจ ซึ่งจะช่วยให้พนักงานมีความยืดหยุ่น และมีโอกาสทำงานที่สร้างสรรค์ได้มากกว่า
ผลการวิจัยด้านความต้องการซื้อสินค้า และบริการผ่านระบบอินเทอร์เน็ตในประเทศไทยพบว่า ปัจจัยที่มีต่อผลการตัดสินใจส่วนใหญ่คือ ความปลอดภัยและความน่าเชื่อถือของวิธีการชำระเงิน รองลงมา คือการแสดงราคาสินค้า และบริการ (สิริกุล หอสถิตย์กุล, 2542 : 12)

คำอธิบายที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางอีกกลุ่มหนึ่งคือ ข้ออธิบายของ Lasswell และ Kepland (1970 : 36) ที่เสนอว่า เป็นแผนหรือโครงการที่ได้กำหนดขึ้น
จากการวิเคราะห์วีธีวิจัยที่ใช้ในวิทยานิพนธ์สาขาบรรณารักษศาสตร์ พบว่า วิธีวิจัยเชิงสำรวจมีผู้นิยมใช้กันแพร่หลาย และคงจะเป็นที่นิยมใช้กันต่อไป (Schlachter and Thomison, 1974 : 18)

การอ้างครั้งแรก
ภักดี รัตนผล, แสวง โพธิ์ทอง และกมล ประจวบเหมาะ (2545 : 30) ได้กล่าวถึงการมอบอำนาจและการกระจายอำนาจ ของการปกครองท้องถิ่นว่า…
Campbell, Poss และ Casc (1989 : 45) กล่าวว่า นักวิจัยทุกคนต่าง ต้องการเรียนรู้เรื่องราวทุก ๆ สิ่งรอบ ๆ ตัว และมีความพยายามที่จะวิเคราะห์งานวิจัยที่ตีพิมพ์ออกมาเผยแพร่ เพื่อศึกษาต่อไป การอ้างครั้งต่อมา
ภักดี รัตนผล และคณะ (2545 : 53-54) กล่าวสรุปไว้ดังนี้…
In some studies the writing is making meaning from experience for ourselves…(Campbell et al., 1989 : 14)

ปราณี คูเจริญไพศาล และคณะ (2542) ศึกษาเรื่องปัจจัยการซื้อซ้ำในฐานะตัวบ่งชี้ระดับความพึงพอใจของผู้บริโภคในการซื้อสินค้าประเภทอาหาร สรุปได้ดังนี้
Charles และคนอื่น ๆ (1998 : 22) ได้สรุปเพิ่มเติมว่า….
Writing is one way of making from experience for ourselves and for others (Case et al., 1991 : 14)

(สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย, 2545 : 35-36)
(สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, ศูนย์พัฒนา- ภาคเหนือ, 2545 : 25)
(กรมการปกครอง, สำนักทะเบียนกลาง, 2545 : ออนไลน์)
(ธนาคารแห่งประเทศไทย, 2545 : 46)
(มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, คณะบริหารธุรกิจ, ภาควิชาการจัดการ, 2545 : 19)
(Chiang Mai University, Faculty of Business Administration, 2002 : CD-ROM)
(Department of Local Administration, 2002: 56)

(นราศรี ไววาณิชย์กุล, 2518: 21; 2530: 36; 2545: 9)
(ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ, 2538: 47; 2545: 45)
(Kotler, 2000: 96 ; 2003: 78)
(Rosser, 1981: 2 ; 2001: 89)

หากไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง ให้ลงชื่อเรื่อง ระบุปีที่พิมพ์ และเลขหน้า (กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา, 2545 : 65-67) (Total Quality Management, 1997 : 3)

เอกสารที่มีเฉพาะชื่อบรรณาธิการ/ผู้แปล/ผู้รวบรวม ให้ระบุชื่อผู้ทำหน้าที่นั้น ปีที่พิมพ์ และเลขหน้า (สีดา สอนศรี, บรรณาธิการ, 2544 : 93) (อมราวดี, ผู้แปล, 2541 : 85) (Derkime, ed., 1989 : 98)

บทวิจารณ์ ให้ระบุชื่อผู้วิจารณ์ ปีที่พิมพ์ และเลขหน้า (บุญรักษ์ บุญญะเขตมาลา, 2545 : 56) (Kennette, 1999 : 63)

(ไกรยุทธ ธีรตยาคีนันท์, 2544 : 45)
(วุฒิพงศ์ พงศ์สุวรรณ, 2545 : 65)

(มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, คณะบริหารธุรกิจ, 2546 : สไลด์)
(ปฏิรูปการเมืองไทย, 2545 : วีดิทัศน์)
(กรมพัฒนาธุรกิจการค้า, สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้า, 2546 : แฟ้มข้อมูลคอมพิวเตอร์)
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, 2546 : ออนไลน์)
(Bank of Thailand, 2003 : Online)

ชื่อผู้แต่ง. ปีที่พิมพ์. ชื่อเรื่อง. ครั้งที่พิมพ์. สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์.

ชื่อผู้เขียนบทความ. ปี. “ชื่อบทความ.” ชื่อวารสาร ปีที่, ฉบับที่ (วัน เดือน): เลขหน้า.

ชื่อผู้เขียนบทความ. ปี. “ชื่อบทความ.” ชื่อหนังสือพิมพ์. (วัน เดือน): เลขหน้า.

ชื่อผู้เขียนวิทยานิพนธ์. ปีพิมพ์. ชื่อวิทยานิพนธ์. ระดับวิทยานิพนธ์ /หรือการค้นคว้าแบบอิสระ ชื่อสาขา คณะ/บัณฑิตวิทยาลัย ชื่อมหาวิทยาลัย.

ผู้ให้สัมภาษณ์. ตำแหน่ง (ถ้ามี). สัมภาษณ์. วัน เดือน ปี ที่ให้สัมภาษณ์.

ชื่อผู้ผลิต/หรือชื่อบุคคลที่พูด. ปีที่ผลิต. ชื่อเรื่อง. [ประเภทของโสตทัศนวัสดุ]. สถานที่ผลิต: หน่วยงานที่ผลิตหรือเผยแพร่.

ชื่อผู้เขียน หรือหน่วยงานผู้รับผิดชอบ. ปีที่บันทึกข้อมูล. “ชื่อเรื่อง/ชื่อบทความ.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา ชื่อที่อยู่ของอินเทอร์เน็ต (วัน เดือน ปีที่สืบค้น).

Similar Documents