Free Essay

Etude

In:

Submitted By imzai
Words 738
Pages 3
ช่วงอายุ | ระดับผู้บริหาร | ทักษะ/คุณลักษณะ | คุณธรรมที่ควรมี | 22-30 | ถือว่ายังเป็นช่วงอายุที่ยังเด็ก ประสบการณ์ยังน้อย ต้องอาศัยการเรียนรู้เพื่อเก็บเกี่ยวประสบการณ์ | 1. ความสามารถในการทำงาน2. ความสามารถในการคิด3. ความสามารถในการใช้ชีวิต4. ความสามารถในการแก้ปัญหา5. ความสามารถในการสื่อสาร6. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี | คุณธรรมสำหรับนักศึกษา ในช่วงอายุ 22-30 ปี ถือเป็นช่วงอายุที่ยังค่อนข้างใหม่กับการทำงาน มีความรู้ ความสามารถ แต่ยังขาดประสบการณ์ จึงจำเป็นที่จะต้องมีการเรียนรู้เพิ่มขึ้น เก็บเกี่ยวประสบการณ์ รู้จักกาลเทศะ มีความขยันหมั่นเพียร เพื่อให้สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดี จึงจำเป็นที่จะต้องมีคุณธรรมดังต่อไปนี้ นักบริหารที่ดีควรมีคุณลักษณะความเป็นผู้นำที่ดี ซึ่งประกอบด้วยคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้ 1. เป็นผู้มีบุคลิกภาพที่ดี (Good Personality) คือเป็นผู้มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี * มีสุขภาพกายที่ดี คือ เป็นผู้มีสุขภาพอนามัยที่ดี มีท่วงท่ากิริยา รวมทั้งการแต่งกายสุภาพ เรียบร้อยดีงาม สะอาด และดูสง่างามสมฐานะ * มีสุขภาพจิตที่ดี คือ เป็นผู้มีอัธยาศัยใจคอที่งาม เป็นคนดี มีศีลธรรม ได้แก่ ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญา กัลป์ทั้งมีกัลยาณมิตตธรรม คือมีคุณธรรมของคนดี * เป็นผู้มีศรัทธา หมายถึง เป็นผู้รู้จักศรัทธาบุคคลและข้อปฏิบัติที่ควรศรัทธาไม่ลุ่มหลงงมงายในที่ตั้งแห่งความลุ่มหลง * เป็นผู้มีศีล คือ ผู้ที่รู้จักสำรวมระวัง ความประพฤติปฏิบัติ ทางกายและทางวาจาให้เรียบร้อยดีงาม ไม่ประพฤติเบียดเบียนตนเองและผู้อื่น * เป็นผู้มีสุตะ คือ ผู้ได้เรียนรู้ทางวิชาการ และได้ศึกษาค้นคว้าในวิชาชีพดี * เป็นผู้มีจาคะ คือ เป็นผู้มีจิตใจกว้างขวาง ไม่คับแคบ รู้จักเสียสละ * เป็นผู้มีวิริยะ คือ ผู้ขยันหมั่นเพียร ในการประกอบกิจการงานอาชีพ และ/หรือในหน้าที่รับผิดชอบ * เป็นผู้มีสติ คือ รู้จัก ยังยั้ง ชั่งใจ รู้จักคิดไตร่ตรองให้รอบคอบ ก่อนคิด พูด ทำ * เป็นผู้มีสมาธิ คือ ผู้มีจิตใจตั้งมั่น ข่มกิเลสและนิวรณ์ และ * เป็นผู้มีปัญญา คือ ผู้ที่รอบรู้กองสังขาร ผู้รอบรู้สภาวธรรมที่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง (สังขาร) และที่ไม่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง (วิสังขาร คือ พระนิพพาน) ผู้รู้แจ้งพระอริยสัจ 4 รวมเป็น ผู้มีปัญญาอันเห็นชอบรอบรู้ทางเจริญ ทางเสื่อม แห่งชีวิต ตามที่เป็นจริงการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรม1. ศีล คือ การสำิรวมระวัง ความประพฤติปฏิบัติทางกาย และทางวาจาให้เรียบร้อยดีงามไม่ประพฤติเบียดเบียนตนเองและผู้อื่น2. สมาธิคือการรักษาใจให้ผ่องใสปราศจากกิเลสนิวรณ์ แล้วให้ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดี่ยว3. ปัญญา คือ การรอบรู้กองสังขาร รอบรู้สภาวธรรมที่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง (สังขาร) และที่ไม่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง (สังขารคือพระนิพาน) และรู้แจ้งเห็นแจ้งพระอริยสัจ 4 รวมเป็นผู้มีปัญญาอันเห็นชอบรอบรู้ทางเจริญ ทางเสื่อม แห่งชีวิตตามที่เป็นจริงศีล สมาธิและปัญญานี้ รวมเรียกว่าไตรสิกขาคือ หลักธรรมที่ควรศึกษาปฏิบัติ 3 ประการดำเนินชีวิตตามหลักพุทธธรรมคำสอนทางพุทธศาสนา เพราะหลักธรรมของพระพุทธศาสนา เพราะหลักธรรมของพระพุทธศาสนาเป็นหลักสัจธรรม เป็นสิ่งที่มีความจริงตามธรรมชาติ เช่น มีเกิดก็มีดับไป “เกิดเท่าไหร่ตายเท่านั้น” “ทำดีได้ดี
ทำชั่วได้ชั่ว” เป็นต้น การใช้ชีวิตอย่างมีความสุขในเพศฆารวาสควรเริ่มต้นที่การมีศีล 5 ไว้ประจำใจเป็นอย่างน้อย กล่าวคือ 1. เว้นจากการทำบาปฆ่าสัตว์ เบียดเบียนผู้อื่น 2. เว้นจากการลักขโมย อยากได้ของจากผู้อื่นที่ไม่ใช่ของตนเอง 3. เว้นจากการประพฤติผิดในกาม 4. เว้นจากการพูดปลด โกหก หลอกลวง 5. เว้นจากการดื่มสุรา ยาเสพติดให้โทษ ในการประพฤติปฏิบัติในการใช้ชีวิตประจำวัน ต้องอยู่ในภาวะที่มีความสมดุลกันทุกด้านจึงจะพบกับความสุขโดยแท้จริง นอกจากการมีพื้นฐานด้วยศีล 5 แล้วยังมีหลักพุทธธรรม ซึ่งจะขอยกตัวอย่างหลักพุทธธรรมบางหลักให้เป็นแนวทางในการประพฤติปฏิบัติให้มีการครองตนอย่างสมบูรณ์ ดังนี้ 1. สัมมาทิฐิ คือ ความเห็นชอบ 2. สัมมาสังกัปปะ คือ ดำริชอบ 3. สัมมาวาจา คือ เจรจาชอบ 4. สัมมากัมมันตะ คือ การกระทำชอบ 5. สัมมาอาชีวะ คือ เลี้ยงชีพชอบ 6. สัมมาวายามะ คือ ความพยายามชอบ 7. สัมมาสติ คือ ความระลึกชอบ 8. สัมมาสมาธิ คือ ความตั้งจิตมั่นชอบ จากการใช้พุทธธรรม ที่เรียกว่า มรรค 8 ใช้เป็นหลักการในการดำเนินชีวิตจากความหมายของมรรค 8 ทั้ง 8 ข้อ
จะทำชีวิตมีความสมดุลอันเป็นรากฐานของความสุข ความเจริญทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และตนเอง | 31-40 | เปรียบได้กับช่วงผู้บริหารระดับปฏิบัติการ คือมีการสะสมประสบการณ์จากการทำงานทำให้ทำให้เข้าใจถึงรูปแบบกระบวนการทำงานมากยิ่งขึ้น สติปัญญาพัฒนาสูงขึ้น มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สังเคราะ ตามลำดับ | 1. ความรู้พื้นฐาน2. ความรู้เฉพาะทาง3. การบริหารจัดการคน4. การติดต่อสื่อสารที่ดี5. มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี | คุณธรรมสำหรับนักศึกษา ในช่วงอายุ 31-40 ปีถือได้ว่าเป็นช่วงที่ได้เก็บเกี่ยวประสบการณ์จากการทำงานมากยิ่งขึ้น ทำให้สามารถเข้าถึงและเข้าใจกระบวนการในการทำงานได้มากยิ่งขึ้น ผู้บริหารที่ดีควรจะต้องมีมาตรฐานในการครองตน ครองคน ครองงานที่ดี เพราะการครองตนที่ดี และเป็นตัวอย่างในการทำงาน และการวางตัวที่ดี จะสามารถทำให้เป็นที่เคารพรักของผู้ใต้บังคับบัญชาได้ การครองคนที่ดี เข้าอกเข้าใจใส่ใจผู้ใต้บังคับบัญชา ไม่ใช้อำนาจกดขี่ จะสามารถทำให้เป็นที่รักและที่ยอมรับของผู้ใต้บังคับบัญชา การครองงานที่ดี ตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ มีความขยันหมั่นเพียร มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ จะสามารถทำให้เป็นที่ยอมรับและเคารพนับถือของผู้ใต้บังคับบัญชา ซึ่งผู้บริหารที่ดีนั้นจะต้องมีหลักการบริหารที่นำมาใช้ได้อย่างเหมาะสม การบริหารเป็นกระบวนการที่เป็นระบบงาน ซึ่งต้องอาศัยทั้งศาสตร์และศิลป์ คือต้องมีหลักการดำเนินงาน มีหลักเกณฑ์การปฏิบัติที่แต่ละองค์การสามารถใช้หลักเกณฑ์ โดยมีลักษณะของการบริหารงาน ดังนี้ 1.บอกเป้าหมายและนโยบายขององค์การให้ชัดเจน และแจ้งให้ผู้ใต้บังคับบัญชาทราบด้วย 2.มีการวางแผนในการทำงาน 3.แจ้งจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมให้ผู้ใต้บังคับบัญชาทราบ 4.สั่งงานชัดเจนทั้งโดยวาจาและลายลักษณ์อักษร 5.สั่งงานโดยมีข้อแนะนำ เพื่อให้ผู้ปฏิบัติมั่นใจและไม่ทำผิดกฎระเบียบ 6.อธิบายเหตุผลในการสั่งงานว่าเหตุใดต้องทำงานนั้น และมีผลดีผลเสียอย่างไร 7.แนะนำ บอกวิธีปฏิบัติงาน เพื่อความเข้าใจตรงกัน 8.ในการสั่งงานควรใช้คำพูดเชิงขอร้องมากกว่าใช้อำนาจสั่ง 9.ควรมีความยืดหยุ่นในการทำงานตามสมควร ไม่ควรกำหนดเวลาเสร็จงาน อย่างตายตัวเกินไป ไม่คาดโทษเมื่อผู้ปฏิบัติงานทำงานไม่ทันตามกำหนด 10. ควรสร้างความสำนึกในหน้าที่ให้เกิดแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา 11. ทำตัวเป็นอย่างที่ดีในการทำงาน เช่น ทำงานอย่างมีระบบ ตรงเวลา ค้นหาความรู้ที่ทันสมัยอยู่เสมอ 12. มอบหมายงานพร้อมกับมอบอำนาจในการดำเนินงาน 13. แบ่งงบประมาณในการปฏิบัติงานอย่างเหมาะสม และยุติธรรม 14.ส่งเสริมผู้ใต้บังคับบัญชาให้มีส่วนร่วมในกิจกรรมของหน่วยงาน เช่นเปิดโอกาสให้ผู้ใต้บังคับบัญชา แสดงความคิดเห็นได้ ร่วมวางแผนและตัดสินใจในบางเรื่อง 15. มีการประชุมปรึกษาอย่างสม่ำเสมอ และรู้จักวิธีดำเนินงานประชุม 16. มีการติดต่อสื่อสารที่ชัดเจน เช่น แจ้งการเปลี่ยนแปลงภายในองค์การ ผลได้ผลเสียของผู้ใต้บังคับบัญชา 17. เปิดโอกาสให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเข้าพบ ปรึกษาปัญหาได้ 18. ทำตนให้เป็นที่เคารพนับถือ เป็นที่ไว้วางใจของผู้บังคับบัญชา 19. ออกคำสั่งที่ชัดเจน แน่นอน ไม่โลเล 20. มีเหตุผลในการตัดสินปัญหา ไม่ใช่อารมณ์เมื่อไม่พอใจ 21. จัดหาวัสดุเครื่องอำนวยความสะดวกในการทำงาน ให้มีอย่างเพียงพอและมีประสิทธิภาพ 22. ให้ความยุติธรรมในการแบ่งงาน การเลื่อนตำแหน่งและการพิจารณาความดีความชอบ 23. เอาใจใส่ทุกข์สุขของผู้ใต้บังคับบัญชา ดูแลความทุกข์สุขอย่างสม่ำเสมอหน้า ไม่ลำเอียง 24. ส่งเสริมผู้ใต้บังคับบัญชาให้มีโอกาส พัฒนาความรู้ความสามารถ เช่น การเข้าร่วมอบรมสัมมนา การศึกษาต่อ ฯ 25. ยกย่องให้เกียรติแก่ผู้ใต้บังคับบัญชาแสดงความเห็นอกเห็นใจความเหนื่อยยาก ลักษณะของผู้บริหารที่ดีดังกล่าวข้างต้นทั้ง 25 ประการชี้ให้เห็นชัดเจนว่าผู้บริหารที่มีคุณภาพจะต้องอาศัยทั้งในด้านศาสตร์ของการบริหารและศิลปะในความเป็นผู้นำประสมประสานกันอยู่ในตัว แต่สิ่งที่แฝงอยู่ในระหว่างการบริหารงานเกือบทุกประการ ก็คือคุณธรรมจริยธรรมของผู้บริหาร ซึ่งเป็นเสมือนส่วนเสริมที่จะทำให้การบริหารงานนั้นมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น เป็นส่วนจรรโลงให้บุคลากรในองค์การทำงานรวมกันได้อย่างมีความสุข มีศรัทธาในการทำงาน ยอมรับเชื่อฟังและปฏิบัติตามคำสั่งของผู้นำ มีความสามัคคีกลมเกลียว มีน้ำหนึ่งใจเดียวร่วมกัน ร่วมจิตร่วมคิดเพื่อสู่จุดหมายอันเดียวกัน ทั้งนี้เนื่องมาจากคุณธรรมของผู้บริหารนั่นเอง นั้นก็คือผู้บริหารที่มี่คุณภาพต้องเป็นผู้บริหารมีคุณธรรมเป็นแกนนำสำคัญในการบริหารงาน. ผู้บริหาร เป็นผู้มีหน้าที่ในการบริหารงาน เป็นบุคคลในระดับบังคับบัญชา จึงเป็นผู้มีเกียรติโดยมีฐานะคือตำแหน่งหน้าที่ที่สำคัญในหน่วยงานหรือองค์การ บทบาทหน้าที่ของผู้บริหารหน้าที่ของผู้บริหารมีขอบเขตที่ต้องปฏิบัติพอสรุปได้ดังนี้ 1.เป็นผู้บริหาร (executive) ทำหน้าที่ประสานงานระหว่างกลุ่มที่อยู่ในองค์การหรือหน่วยงาน ให้ปฏิบัติภารกิจต่าง ๆ ตามวัตถุประสงค์ขององค์การ ผู้บริหารต้องคอยอำนวยความสะดวก แก้ปัญหาซึ่งเกิดขึ้นได้ในองค์การ 2.เป็นผู้วางแผน (planner) คือ ทำหน้าที่ในการวางแผนงานต่าง ๆ ในองค์การให้ฝ่ายปฏิบัตินำไปปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ 3.เป็นผู้กำหนดเป้าหมาย (policy maker) ผู้บริหารจะต้องมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย วัตถุประสงค์ขององค์การ โดยกำหนดให้ชัดเจน สามารถนำไปปฏิบัติให้บังเกิดผลเป็นรูปธรรมได้ 4.เป็นผู้เชี่ยวชาญ (expert) ผู้บริหารจะต้องเป็นผู้มีความเชี่ยวชาญ และชำนาญความสามารถให้คำแนะนำ ปรึกษา ช่วยเหลือ เมื่อฝ่ายปฏิบัติการต้องการ 5.เป็นตัวแทนติดต่อประสานงานกับหน่วยงานหรือบุคคลภายนอก (external group representative) คือทำหน้าที่เป็นตัวแทนของหน่วยงานที่จะออกไปสัมพันธ์กับหน่วยงานหรือบุคคลภายนอกในนามขององค์การ 6.เป็นผู้ควบคุม (controller of internal relation) คือ ส่งเสริมความสัมพันธ์ด้วยวิธีต่าง ๆ ให้สมาชิกมีขวัญกำลังใจ ความสามัคคีระหว่างกันในกลุ่มให้มากที่สุด เพื่อการปฏิบัติงานร่วมกันเป็นไปอย่างราบรื่นบรรลุจุดหมาย 7.เป็นผู้ให้คุณให้โทษ (purvey of reward and punishment ) คือ การพิจารณาความดีความชอบ การให้รางวัลแก่บุคลากรในองค์การและการลงโทษ ในกรณีที่เกิดความบกพร่องซึ่งจะต้องพิจารณาอย่างยุติธรรมที่สุด 8.เป็นบุคคลตัวอย่าง (example) เป็นผู้ได้รับการยกย่องในความดีความงาม ทั้งจากบุคลากรภายในและภายนอกองค์การ 9.เป็นสัญลักษณ์ของกลุ่ม (symbol of the group) คือ เป็นศูนย์รวมของสมาชิกทุกคนในองค์การ เป็นตัวแทนของสมาชิกทุกคน ที่ช่วยให้เกิดความรัก ความสามัคคีในหมู่สมาชิก 10. เป็นตัวแทนรับผิดชอบ (substitute for individual responsibility ) ผู้บริหารจะต้องรับผิดชอบกิจการหรือกิจกรรมทั้งหลาย อันอาจเกิดผลทั้งทางดีและทางบกพร่องซึ่งสมาชิกในองค์การเป็นผู้ปฏิบัติ. 11. เป็นผู้มีอุดมคติ (ideologist) ปฏิบัติตนเพื่อสร้างความศรัทธาแก่สมาชิก เป็นผู้มีความดีงาม ปฏิบัติภารกิจอย่างมีอุดมการณ์ไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน 12. เป็นบิดาหรือผู้อาวุโส (Fatherfigure) คือ การวางตนอย่างเหมาะสม เป็นที่เคารพนับถือของสมาชิกในองค์การ วางตนเป็นผู้ใหญ่ที่พร้อมจะช่วยเหลือสมาชิกทุกคนเมื่อมีปัญหาหรือความทุกข์ร้อน. 13. เป็นผู้ไกล่เกลี่ย (arbitrator and mediator) คือ เมื่อมีข้อขัดแย้งในหมู่สมาชิก ผู้บริหารจะต้องทำหน้าที่ไกล่เกลี่ย ทำให้เกิดความเข้าใจดีต่อกัน ทำให้การปฏิบัติงานไม่เกิดปัญหา 14. เป็นผู้รับผิดแทน (scapegoat) คือ เมื่อใดที่มีความเสียหายเกิดขั้นในองค์การ ผู้บริหารจะต้องเป็นบุคคลแรกที่จะรับโทษในฐานะเป็นผู้นำของสมาชิก นอกจากใช้หลักลักษณะการบริหารงานที่ดีแล้วนั้น พุทธธรรมคำสอน ถือเป็นคติธรรมที่ใช้เตือนสติ และเป็นบรรทัดฐานในการบริหารงานที่ดี มีดังนี้ 1. เมตตา : คือให้มีความรักใคร่ และปรารถนาที่จะให้ผู้อื่นมีความสุข 2. กรุณา : ให้ความสงสาร และคิดช่วยเหลือให้ผู้อื่นดับทุกข์ 3. มุฑิตา : คือ มีความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี มีความสุขประสบผลสำเร็จในการดำเนินชีวิต และหน้าที่การงาน และพร้อมกับสนับสนุนผู้ใต้บังคับบัญชา เพื่อร่วมงาน มีความเจริญก้าวหน้า 4. อุเบกขา : คือ วางตนเป็นกลางปฏิบัติต่อทุกคนที่เกี่ยวข้องด้วยความยุติธรรม เสมอภาคปราศจากความลำเอียงหลักพุทธธรรมที่ใช้ครองใจคนในการให้เป็นมิตร มี 4 ประการคือ 1. สัจจะ คือ การตั้งอยู่ในความสัตย์ พูดจริง มีความจริงใจในการคบมิตร 2. ธัมโม คือ การรู้จักบาป-บุญ สิ่งที่เป็นประโยชน์ และสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ พึงละลึกอยู่เสมอว่าสิ่งใดควรทำ สิ่งใดไม่ควรทำ 3. ธิถิ คือ การมีความเพียรอันได้แก่ การทำความดี มีความเพียรในการปฏิบัติงานอย่างเสมอต้นเสมอปลาย 4. จาโค คือ มีความยินดีในการบริจาค แบ่งปัน ช่วยเหลือผู้อื่นในการบริจาคด้วยสิน เงินทอง แบ่งปัน สิ่งของ ความรัก ความสามัคคี และแม้กระทั่งเสียสละกาย กำลังใจ ที่จะช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นทุกข์ละความสุข ตามความเหมาะสมหลักพุทธธรรม ยุติธรรม 5 ในการครองตน ผู้นำหรือผู้บริหารต้องมีหลักของความยุติธรรมในการปฏิบัติต่อทุกคนที่เป็นผู้ใต้บังคับบัญชา หรือผู้ร่วมงานด้วยความเสมอภาคจึงเกิดความเลื่อมใส ศรัทธาในจริยา สรุปได้ 5 ประเภทคือ 1. สัจจวา คือ การแนะนำในสิ่งต่าง ๆ เป็นการดำเนินชีวิต การปฏิบัติด้วยความจริงใจด้วยใจที่สะอาด บริสุทธิ์ 2. บัณฑิตา คือ มีความฉลาด และแนะนำสิ่งที่เป็นสัจธรรมความจริง ความเลื่อมใสทั้งปวงด้วยความฉลาดรอบคอบถูกกาลเทศะ 3. อุตสาหะเสนะ คือ การตัดสินใจปัญหาต่างๆ ด้วยสติ ด้วยปัญญา โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้นำ หรือผู้บริหารต้องใช้การตัดสินใจในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ทั้งในเรื่องการงาน และข้อพิพาทต่าง ๆ ของผู้ใต้บังคับบัญชาหรือเทียบเท่า บุคคลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องด้วยสติปัญญา ไม่ติดสินด้วยอารมณ์ที่โกรธ ควรมีหลีกไตรสิกขาเข้าควบคุมจิตใจ การตัดสินใจ คือ ศีล สมาธิ และปัญญา 4. เมธาวี คือ การนึกถึงธรรมเป็นที่ตั้งไม่เห็นแก่สิ่งยั่วยุต่าง ๆ เช่น อามิสสินจ้าง การประจบสอพลอ เป็นต้น 5. ธัมมัญธะ คือ การไม่อาฆาต จองเวร ข้อนี้ผู้บริหารควรตระหนักให้มาก ไม่ควรอาฆาตมาดร้าย จองเวร ต่อเวร ต่อกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ใต้บังคับบัญชาที่ทำให้ตนเองไม่พอใจ ในทางตรงกันข้ามควรให้อภัย เพราะในทางพระพุทธศาสนา นับถือว่า การให้อภัยเป็นกุศลสูงสุดด้วยเช่นกัน | 41-50 | เปรียบได้กับผู้บริหารระดับกลาง มีความเป็นผู้ใหญ่ ผ่านประสบการณ์มามาก สามารถจัดการกับปัญหาหรือความขัดแย้งต่างๆได้ มีความอดทนต่อสิ่งต่างๆได้ดี | 1. มีความรู้เฉพาะทาง2. มีการคิดอย่างเป็นระบบ3. มีการบริหารจัดการคนที่ดี4. มีการติดต่อสื่อสารที่ดี5. มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี6. มีการจัดการที่ดี | คุณธรรมสำหรับนักศึกษา ในช่วงอายุ 41-50 ปี ถือว่าเป็นช่วงที่มีประสบการณ์มาก มีกระบวนการคิดที่เป็นระบบมากยิ่งขึ้น สามารถรับมือกับความขัดแย้งที่เกิดขึ้นได้ เข้าใจการทำงานอย่างถ่องแท้ ผู้บริหารที่ดีควรจะต้องมีมาตรฐานในการครองตน ครองคน ครองงานที่ดี เพราะการครองตนที่ดี และเป็นตัวอย่างในการทำงาน และการวางตัวที่ดี จะสามารถทำให้เป็นที่เคารพรักของผู้ใต้บังคับบัญชาได้ การครองคนที่ดี เข้าอกเข้าใจใส่ใจผู้ใต้บังคับบัญชา ไม่ใช้อำนาจกดขี่ จะสามารถทำให้เป็นที่รักและที่ยอมรับของผู้ใต้บังคับบัญชา การครองงานที่ดี ตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ มีความขยันหมั่นเพียร มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ จะสามารถทำให้เป็นที่ยอมรับและเคารพนับถือของผู้ใต้บังคับบัญชา ซึ่งผู้บริหารที่ดีนั้นจะต้องมีคุณลักษณะดังต่อไปนี้ 1. เป็นคนมีวิสัยทัศน์ (Vision) หรือมีความคิดกว้างไกลและลุ่มลึกเพราะปัจจุบันเป็นสังคมยุคโลกาภิวัฒน์ (Globalization) หรือ"สังคมไร้พรมแดน" หรือ"สังคมข้อมูลข่าวสาร" (InformationSociety) องค์การทุกองค์การต้องมีการปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของกระแส สังคมโลกดังนั้นผู้นำิจะเพียงแค่คิดวันนี้พรุ่งนี้ชนิดที่ เรียกว่า"ตำิข้าวสารกรอกหม้อ"คงจะไม่ได้ต้องมองการณ์ไกลหรือคิด (วางแผน) ล่วงหน้าเป็นปี 5 ปี หรือ 10 ปี จะต้องอาศัยปัจจัยใดบ้าง ซึ่งเราเรียกว่า ผู้นำฉลาดคิด ( Creative Leader ) 2. มีความรอบรู้รอบคอบ รอบด้าน ทันต่อเหตุการณ์และปฏิภาณไหวพริบดีผู้นำิที่ดีจะต้องมีความรอบรู้งานที่ตนเองรับผิดชอบอย่างถ่องแท้ รู้จริง"อย่ารู้แบบเปิด" รอบคอบ หมายถึงการทำิงานจะต้องละเอียดไม่ผิดพลาดและตรวจสอบได้หรือ"มีความโปร่งใส" ( Transparency ) นั่นเอง ส่วนรอบด้าน คือเป็นบุคคลที่หูกว้าง ตากว้าง รับฟังข้อมูลข่าวสาร เหตุการณ์ต่าง ๆ ตลอดเวลา ที่เราเรียกว่าเป็น "คนทันสมัย" หรือ "คนไม่ตกรุ่น" หรือ Information Man 3. มีความคิดสร้างสรรค์ หรือเป็นนักพัฒนาผู้นำิที่ดีต้องไม่ปฏิเสธนวัตกรรม ( Innovation )หรือ สิ่งใหม่ ๆ ในขณะเดียวกันตนต้องเป็นผู้คิดริเริ่มสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ขึ้นในองค์การ เพื่อให้องค์การมีการเปลี่ยนแปลงที่ทันสมัยตลอดเวลา อาทินำิเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาใช้ในสำินักงาน อันจะทำิให้การทำิงานมีประสิทธิภาพขึ้น ทั้งสะดวกรวดเร็ว บริการดีมีความประทับใจ เช่น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ แฟกซ์ เครื่องถ่ายเอกสาร ระบบดาวเทียม ระบบเครือข่ายภายใน (Intranet) ระบบเครือข่ายทั่วโลก(Internet) เป็นต้น 4. มีความรับผิดชอบ ผู้นำิจะต้องมีความรับผิดชอบทั้งภายในองค์การและภายนอกองค์การ ความรับผิดชอบภายในองค์การ ได้แก่ความรับผิดต่อตนเอง (มีจรรยาบรรณ) ความรับผิดชอบต่อหน้าที่การงาน ส่วนความรับผิดชอบภายนอกองค์การ ได้แก่ ความรับผิดชอบต่อผู้มารับบริการ ประชาชนหรือสังคมอันเป็นส่วนรวม ถ้าผู้นำิมีความรับผิดชอบดีการทำิงานทุกอย่างก็ย่อมสำิเร็จลุล่วงไปด้วยดี แต่ถ้าผู้นำิรักแต่ชอบไม่ยอมรับผิดก็เข้าทำินอง"ความดีขอรับไว้ ความจัญไรยกให้คนอื่น"ย่อมไม่มีใครอยากคบหาสมาคมด้วย 5. มีความอดทนและอดกลั้น ผู้นำิจะต้องปกครองผู้ใต้บังคับบัญชาจำนวนมาก ซึ่งมีความแตกต่างกันทั้งทางวัย ระดับการศึกษา ค่านิยม ภูมิหลัง ฯลฯ บางครั้งผู้นำิอาจจะถูกนินทาหรือวิพากษ์วิจารณ์ จากลูกน้องในทางเสื่อมเสียชื่อเสียงได้ก็ต้องมีความอดทนและอดกลั้นไม่โมโหโดยไร้เหตุผลไม่โต้ตอบ โดยใช้อารมณ์แต่ใช้วิธีเรียกมาพบ ชี้แจงให้เข้าใจใช้เหตุผลจงยึดหลัก " ความอดทน อดกลั้นนำมาซึ่งชัยชนะตนเองและผู้อื่น " 6. ความเด็ดขาด ความเด็ดขาดเป็นเรื่องของการนำคน ผู้ที่เป็นผู้นำิคนจะต้องตัดสินใจ จะต้องแก้ปัญหาต่าง ๆ อยู่ตลอดเวลา ถ้าผู้นำิขาดความเด็ดขาด การตัดสินใจนั้นอาจล่าช้า การแก้ไขปัญหาอาจไม่ทันการหรือเกิดความเสียหายได้ความเด็ดขาดในที่นี้มิใช่ลักษณะเผด็จการ แต่มีความมั่นใจ มีความอาจหาญ มีความรวดเร็วไม่โลเลไม่ลีลาช้าหรือปล่อยให้ปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นไปตามยถากรรม 7. มีมนุษย์สัมพันธ์"มนุษย์สัมพันธ์" (Human Relationship) หมายถึง ศิลปะในการครองใจคนหรือสร้างความสัมพันธ์อันดีกับบุคคลอื่น ดังคํากล่าวของเดลคาร์เนกี้ที่ว่า "การรู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา"ผู้นำิในองค์การจะต้องทำิตัวเป็นกันเองกับผู้ร่วมงาน และผู้ใต้บังคับบัญชาตามความเหมาะสม ไม่ควรทำิตัวเป็น "นายเผด็จการ" หรือ "นางระเบียบ" ต้องเอาใจใส่ดูแลทุกข์สุขของ ผู้ใต้บังคับบัญชา วางตัวให้เหมาะสม เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เป็นที่พึ่งทางความคิด ความรู้ และที่พึ่งทางใจแก้ผู้ใต้บังคับบัญชาดังคำิกล่าวที่ว่า "ผู้นำิต้องทำิตัวให้เหมือนกองไฟในฤดูหนาว ร่มไม้ใหญ่ในฤดูร้อน หลังคาในฤดูฝน สายธาร ในความแห้งแล้ง และแสงสว่างในความมืด" ถ้าท่านมีคุณสมบัติ เช่นนี้เชื่อได้ว่าท่านจะได้รับความรักความศรัทธาและความร่วมมือในการปฏิบัติงานจากผู้ใต้บังคับบัญชาด้วยดีแน่นอน 8. รู้จักส่งเสริมและให้กำาลังใจผู้ใต้บังคับบัญชา ผู้นำาที่ดีจะต้องคำานึงถึงความรู้สึกของลูกน้องว่าเขาคิดอย่างไร ซึ่งอาจจะวัดดูได้จากผลงานที่ทำากิริยาทางความตั้งใจจริงความกระตือรือร้น การมีจิตใจที่มั่นคง ฯลฯ ผู้นำาจะต้องคอยสังเกตลูกน้องที่ขาดกำาลังใจ และหาทางบำารุง กำาลังใจ ส่งเสริมขวัญกำาลังใจ ซึ่งจะเป็นผลดีแก่ตัวเขาเอง ต่อผู้นำาและต่อองค์การ ทั้งนี้ผู้นำาไม่ต้องลงทุนอะไรมาก วิธีที่สามารถทำาได้คือ รู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา แสดงความเชื่อมั่นในตัวเขาอย่าจริงใจ ยกย่องชมเชยให้บำาเหน็จความชอบ เมื่อเขาทำาดีหรือประสบความสำาเร็จในการทำางาน ดูแลทุกข์สุขในการทำางานของลูกน้อง มีความจริงใจต่อลูกน้อง หลีกเลี่ยงการขู่บังคับ และอย่าจุกจิกจู้จี้ขี้บ่น หรือหยุมหยิมแบบ "ฆ่าควายเสียดายเกลือ" 9. มีศิลปะในการพูด"การพูด" นับว่าเป็นพฤติกรรมที่มนุษย์ใช้มากในชีวิตประจำาวัน โดยเฉพาะการเป็นผู้นำาหรือหัวหน้าคน จะต้องมีประมุขศิลป์หรือมีวาทศิลป์ในการพูดคือ"ทั้งพูดได้พูดดี" การพูดจึงเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ที่ว่าเป็นศาสตร์เพราะต้องอาศัยองค์ความรู้หรือมีการเรียนรู้ ส่วนที่ว่าเป็นศิลป์นั้น คือการพูดต้องอาศัยเทคนิควิธีการ ทักษะและประสบการณ์มาก ๆ การพูดมิใช่สิ่งที่ติดตัวมาแต่กำาเนิดการพูดมิใช่พรสวรรค์อย่างเดียวแต่การพูดสามารถฝึกฝนได้ แสวงหาได้เราจึงอาจกล่าวว่า " การพูดมิใช่พรสวรรค์แต่อย่าง แต่เป็นพรแสวงด้วย "จริยธรรมสำหรับนักบริหาร 1. เป็นผู้มีหลักธรรมในการครองงานที่ดีด้วยคุณธรรม คือ อิทธิบาทธรรม ได้แก่ 1.1 ฉันทะ ความรักงาน คือ จะต้องเป็นผู้รักงานที่ตนมีหน้าที่รับผิดชอบอยู่ และทั้งจะต้องเอาใจใส่กระตือรือร้นในการเรียนรู้งาน และเพิ่มพูนวิชาความรู้ความสามารถในการทำกิจการงาน และมุ่งมั่นที่จะทำงานในหน้าที่รับผิดชอบหรือกิจการงานอาชีพของตนให้สำเร็จเรียบร้อยอยู่เสมอ 2.2 วิริยะ ความเพียร คือ จะต้องเป็นผู้มีความขยันหมั่นเพียรประกอบด้วยความอดทนไม่ท้อต่อความยากลำบากในการประกอบกิจการงานในหน้าที่หรือในอาชีพของตน จึงจะถึงความสำเร็จและความเจริญก้าวหน้าได้ 2.3 จิตตะ ความเป็นผู้มีใจจดจ่ออยู่กับการงาน ผู้ที่ทำงานได้สำเร็จด้วยดีมีประสิทธิภาพนั้น จะต้องเป็นผู้เอาใจใส่ต่อกิจการงานทุกหน่วยดำเนินตามนโยบายและแผนงาน ให้ถึงความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ หัวหน้าหน่วยงานหรือผู้บริหารจะต้องคอยดูแลเอาใจใส่ ติดตามผลงาน และ/หรือ ตรวจงาน หน่วยงานต่างๆ ภายในองค์การของตน เพื่อประกอบการพิจารณาวินิจฉัย ตัดสินใจ และสั่งการให้กิจการงาน ทุกหน่วยดำเนินตามนโยบายและแผนงาน ให้ถึงความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ 2.4 วิมังสา ความเป็นผู้รู้จักพิจารณาเหตุสังเกตผลในการปฏิบัติงานของตนเองและของผู้น้อยหรือของผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา ว่า ดำเนินไปตามนโยบายและแผนงานที่วางไว้หรือไม่ ได้ผลสำเร็จหรือมีความคืบหน้าไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้หรือไม่เพียงไร มีอุปสรรคหรือปัญหาที่ควรได้รับการปรับปรุงแก้ไขวิธีการทำงาน หรือวิธีการบริหารกิจการงานนั้นให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ได้อย่างไรขั้นตอนนี้เป็นการนำข้อมูลจากที่ได้ติดตามประเมินผลงานหรือตรวจงานนั้นแหละมาวิเคราะห์วิจัย ให้ทราบเหตุผลของปัญหาหรืออุปสรรคข้อขัดข้องในการทำงานแล้วพิจารณาแก้ไขปัญหาเหล่านั้น และปรับปรุงพัฒนาวิธีการทำงานให้ดำเนินไปสู่ความสำเร็จ ให้ถึงความเจริญก้าวหน้ายิ่งๆ ขึ้นไปหลักพุทธธรรม อิทธิบาท 4 เป็นหลักพุทธธรรมที่ทำให้ประสบผลสำเร็จในการทำงาน คือ 1. ฉันทะ คือ มีความพึงพอใจในงานที่รับผิดชอบ 2. วิริยะ คือ มีความขยันหมั่นเพียร อดทน เสียสละในการทำงานโดยมุ่งหวังให้งานประสบผลสำเร็จ 3. จิตตะ คือ มีความฝักใฝ่เอาใจใส่งานอย่างต่อเนื่อง และการทำงานด้วยความระมัดระวัง โดยหวังผลให้งานประสบผลสำเร็จ 4. วิมังสา คือ มีความคิดไตร่ตรอง หาเหตุผลคิดแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น และการพัฒนางานหลักพุทธธรรม สัปปุริธรรม 7 1. ธัมมัญญุตา คือ ความเป็นผู้รู้จักเหตุ 2. อัตถัญญุตา คือ ความเป็นผู้รู้จักผล 3. อัตตัญญุตา คือ ความเป็นผู้รู้จักตน 4. มัตตัญญุตา คือ ความเป็นผู้รู้จักประมาณ 5. กาลัญญุตา คือ ความเป็นผู้รู้จักกาลเวลา 6. ปุริสัญญุตา คือ ความเป็นผู้รู้จักชุมชน สังคม 7. บุคคลโรปรัญญุตา คือ ความเป็นผู้รู้จักคบคนหลักธรรม อริยทรัพย์ 7 เป็นหลักพุทธธรรมที่เกี่ยวข้องกับการครองตน ครองคน ครองงาน คือ 1. ศรัทธา คือ เชื่อในสิ่งที่ควรเชื่อ 2. ศีล คือ มีความประพฤติเรียบร้อย 3. หริ คือ มีความละอายต่อบาป การทุจริตไม่ซื่อตรง 4. โอตตัปปะ คือ มีความสะดุ้ง เกรงกลัวต่อบาป 5. พาหุสัจจะ คือ ความเป็นคนที่ได้รับฟังมามาก 6. จาคะ คือ การให้เป็นสิ่งของสำหรับคนที่ควรให้ ปัญญา คือ ความรอบรู้ ทำในสิ่งที่เป็นประโยชน์ นอกจากนี้ การเป็นผู้บริหารที่ดีนั้น จะมีเหตุเป็นปัจจัยสำเร็จ “การตั้งใจดี” และมือสะอาด ซึ่งพระพุทธองค์ได้กำหนดแนวทางสู่การปฏิบัติตามไว้ 3 ประการ ดังนี้ 1. เว้นจากการทุจริต การประพฤติชั่ว ทั้งกาย วาจา และใจ 2. การประกอบการงาน อาชีพที่สุจริต ประพฤติชอบ ทั้งกาย วาจา และใจ 3. การทำใจคนให้สะอาด บริสุทธิ์ ไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่หลง | 51 ขึ้นไป | เปรียบได้กับผู้บริหารระดับสูง ช่วงชีวิตผู้ใหญ่ตอนปลาย ความคิด สติปัญญาอยู่ในระดับสูงมีการคิดเป็นระบบที่มีความยืดหยุ่นมากขึ้น ประสบการณ์มีมาก สามารถทำให้ปรับจัวเข้ากับสถานการณ์ต่างๆได้ดี | 1. มีกระบวนการคิดเป็นระบบ2. มีการบริหารจัดการคนที่ดี4. มีการติดต่อสื่อสารที่ดี5. มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี6. มีการจัดการที่ดี | คุณธรรมสำหรับนักศึกษา ในช่วงอายุ 51 ปีขึ้นไป จะเป็นช่วงที่มีวุฒิภาวะสูงสุด มีความคิด การตัดสินใจที่เด็ดขาด มีประสบการณ์สูงสุด ทำให้สามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์และแก้ไชปัญหาได้ดีมีคุณธรรมในการครองตน 1. ดำเนินชีวิตตามหลักพุทธธรรมคำสอนทางพุทธศาสนา เพราะหลักธรรมของพระพุทธศาสนา เพราะหลักธรรมของพระพุทธศาสนาเป็นหลักสัจธรรม เป็นสิ่งที่มีความจริงตามธรรมชาติ เช่น มีเกิดก็มีดับไป “เกิดเท่าไหร่ตายเท่านั้น” “ทำดีได้ดี
ทำชั่วได้ชั่ว” เป็นต้น การใช้ชีวิตอย่างมีความสุขในเพศฆารวาสควรเริ่มต้นที่การมีศีล 5 ไว้ประจำใจเป็นอย่างน้อย กล่าวคือ1. เว้นจากการทำบาปฆ่าสัตว์ เบียดเบียนผู้อื่น2. เว้นจากการลักขโมย อยากได้ของจากผู้อื่นที่ไม่ใช่ของตนเอง3. เว้นจากการประพฤติผิดในกาม4. เว้นจากการพูดปลด โกหก หลอกลวง5. เว้นจากการดื่มสุรา ยาเสพติดให้โทษ ในการประพฤติปฏิบัติในการใช้ชีวิตประจำวัน ต้องอยู่ในภาวะที่มีความสมดุลย์กันทุกด้านจึงจะพบกับความสุขโดยแท้จริง นอกจากการมีพื้นฐานด้วยศีล 5 แล้วยังมีหลักพุทธธรรม ซึ่งจะขอยกตัวอย่างหลักพุทธธรรมบางหลักให้เป็นแนวทางในการประพฤติปฏิบัติให้มีการครองตนอย่างสมบูรณ์ ดังนี้1. สัมมาทิฐิ คือ ความเห็นชอบ2. สัมมาสังกัปปะ คือ ดำริชอบ3. สัมมาวาจา คือ เจรจาชอบ4. สัมมากัมมปันตะ คือ การกระทำชอบ5. สัมมาอาชีวะ คือ เลี้ยงชีพชอบ6. สัมมาวายามะ คือ ความพยายามชอบ7. สัมมาสติ คือ ความระลึกชอบ8. สัมมาสมาธิ คือ ความตั้งจิตมั่นชอบ จากการใช้พุทธธรรม ที่เรียกว่า มรรค 8 ใช้เป็นหลักการในการดำเนินชีวิตจากความหมายของมรรค 8 ทั้ง 8 ข้อ
จะทำชีวิตมีความสมดุลอันเป็นรากฐานของความสุข ความเจริญทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และตนเองหลักพุทธธรรม สังหวัตถุ 4 เป็นหลักพุทธธรรม ซึ่งจะเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ มีน้ำใจซึ่งกันและกัน เป็นเหตุให้เกิดความรัก ความสามัคคี ดำเนินชีวิตด้วยความสุข ดังนี้ 1. ทาน คือ การให้เป็นสิ่งของแก่คนที่ควรมีจิตอาสา มีความเสียสละ 2. ปิยวาจา คือ การเจรจาพูดด้วยวจีที่อ่อนหวาน มีวาจาเป็นมิตร 3. อัตถจริยา คือ การประพฤติในสิ่งที่เป็นประโยชน์ทั้งตนเองและผู้อื่น 4. สมานนัตตา คือ การวางตนให้เหมาะสมกับฐานะตนเองหลักพุทธธรรม ธรรมโลกบาล เป็นหลักพุทธธรรมที่ช่วยคุ้มครองบุคคลหรือมวลมนุษย์ในโลกให้อยู่ร่วมกันอย่างปกตอสุข มีความร่มเย็นเป็นสุข ประกอบด้วยกัน
2 ประการคือ 1. หิริ คือ ความละอายในตนเอง 2. โอตตัปปะ คือ มีความเกรงกลัวต่อทุกข์ ความเสื่อม ความชั่ว จนไม่คิดจะกระทำความชั่ว |

Similar Documents

Free Essay

Etude

...Direction des études Mission Santé-sécurité au travail dans les fonctions publiques (MSSTFP) SOURCES DU DROIT – HIERARCHIE DES TEXTES Les sources de droit Depuis l’ordonnance de Charles IX, de juillet 1566, éditant pour les travaux de couverture, des mesures de sécurité, en passant par les premières lois du 19ème siècle, l’ère des grands décrets au 20ème siècle, la réglementation dans le domaine de la santé – sécurité au travail (SST) est nombreuse et variée. On appelle source de droit, les divers procédés par lesquels les règles de droit sont élaborées. Ces règles constituent une réponse à la problématique suivante : comment se comporter, quelle décision prendre, quelle attitude à avoir, dans une situation particulière. L’inobservation d’une de ces règles entraîne une sanction, prévue parfois par la règle ellemême. Le système constitutionnel français institue une hiérarchie entre les diverses sources de droit. Aucune règle ne doit être en contradiction avec des dispositions d’une source qui lui est supérieure. Le paragraphe suivant, sans être exhaustif, cite les principales sources de droit intervenant dans la SST. La hiérarchie des textes La hiérarchie des principales sources de droit est la suivante : Conventions internationales : accords conclus par deux ou plusieurs Etats. Elles doivent respecter la constitution. Selon leur nature, elles sont ratifiées par le Président de la République ou le Parlement, et contrôlés par le Conseil d’Etat ou le Conseil Constitutionnel....

Words: 1047 - Pages: 5

Premium Essay

Etude

...Executive Summary Cumberland Metal Industries (CMI), a company specialized in making of curled metal products, has develop a new product, metal cushion pad with health safety and long durability, to help contractors drive piles faster. Based on the successful tests, CMI now wants to launch this new product to the market. The main challenge CMI is facing is to price its new pads. Since the pad is totally new in the market, CMI should use perceived value pricing method and apply marketing mix programs comprised of advertising, education, and distribution channels to launch this product as well as develop it to get full market share in the future. Perceived Value Pricing – strategy for future success CMI should set the objective of this new business to be the monopoly and to maximize profits. However, the prerequisite for this objective is to get a patent to prevent this product from being copied and imitated. As long as CMI did not get patent for this product, CMI should not sell it as it would invite the entry of competitors because this cushion pad is not a high technology product and easy to be copied. Thus the following pricing strategy will be based on the scenario of getting patent protection. To price the new product, CMI should apply perceived value pricing method to deliver its value to customers and CMI must make them perceive this value. CMI also needs to apply several marketing-mix programs such as advertising and roles of influencers to communicate and enhance...

Words: 1058 - Pages: 5

Free Essay

Etude Pays

...Etude Pays Emirats Arabes Unis : Dubaï Réalisation : GUERRIER Clara - Etudiante en BTS Commerce International Session : 2014/2016, Lycée Ampère Epreuve CCF : E41,E42 Remis le 5 décembre 2014 A l’entreprise LUSH 1 Sommaire Introduction .........................................................................................................................................3 1. Accessibilité ...............................................................................................................................4 1.1. 1.2. Données historiques et politiques.................................................................................4 1.3. Législation....................................................................................................................5 1.4. Aspects socioculturels...................................................................................................5 1.5. 2. Caractéristiques géographiques, climatiques et accessibilité ......................................4 Commerce extérieur......................................................................................................5 Potentialités.................................................................................................................................6 2.1. Critères généraux.........................................................................................................6 2.1.1. Données démographiques.....

Words: 2798 - Pages: 12

Free Essay

Etude Shopper

...D. Mouton-Gaudérique Le choix du positionnement est à l’origine des choix en matière d’assortiment, de prix, de services proposés, mais aussi des choix en termes d’implantation. En retour, les éléments constituant le point de vente agissent comme vecteurs de communication du positionnement du magasin. Les objectifs du merchandising sont simples  1. Faire venir le client (et le faire re-venir), en travaillant l’attractivité de votre magasin, l’offre produits… 2. Accompagner le client dans sa démarche d’achat, en facilitant la circulation, la compréhension, l’information, la préhension. 3. Séduire : à l’aide de la théâtralisation et de la thématisation. A vous donc d’organiser et d’animer votre point de vente ! 1. LES ÉLÉMENTS EXTÉRIEURS AU POINT DE VENTE L’aménagement débute dès l’extérieur du magasin. Tous les éléments extérieurs liés à votre point de vente sont autant de signaux que le chaland reçoit et interprète. Attachez donc un soin particulier à votre enseigne, la façade de votre bâtiment, votre vitrine, « votre trottoir »…. 1.1. L’emplacement Votre point de vente doit être visible, accessible, attractif. L’emplacement est essentiel mais il ne suffit pas. Bien sûr, plus le flux de personnes passant devant votre magasin sera important, plus vous aurez de chances d’être vu… Encore faut-il que le regard du chaland soit attiré dans votre direction ; et c’est là que la vitrine joue un rôle primordial. 1.2. La vitrine, première accroche visuelle Votre vitrine...

Words: 523 - Pages: 3

Premium Essay

Background of Etude House

...Background of Etude House: Etude House is a popular cosmetics brand originated from South Korea owned by a chemical and cosmetics company Amorepacific Corporation. The name ETUDE was inspired by a famous Polish composer Frederic Chopin's studies for the piano from the early 1800's. The company was founded in the year 1966 and the corporate name was changed to Oscar Corporation in 1985. During 1990, Amore Pacific Group incorporated the company and have decided to change the company's name to Etude Corporation in 1997. Etude House is one of the main cosmetics retailer in South Korea and the first Etude House retail store was opened in Seoul during 2005 and is growing rapidly ever since then. In the year 2009, Etude House launched stores in several countries including Malaysia, Taiwan, Singapore and more. It now has around 9 retail stores all spread across Kuala Lumpur and Selangor in Malaysia and has grown into a famous cosmetics retailer for the ladies here. Environmental forces affecting the retail store: Environmental forces are the uncontrollable forces that will affect the survival, operations, growth of an organization and the results of a marketing decision. There are several forces that will affect the business of the retail store Etude House. The first force is the technological forces. Advanced technology often creates new products based on innovation and creativity and it has the potential to change the ways of operating a business. The advancement...

Words: 450 - Pages: 2

Free Essay

Etude de Cas

...Etude de cas « LA MARQUE MONDIALE DE STELLA ARTOIS » Historique Pour mieux connaitre l’histoire de Stella Artois, il faut bien connaitre l’histoire de “Interbrew”. Interbrew était née brasserie Den Horn en Belgique l’année 1366, puis est devenue Artois d’après Sébastian Artois le maitre brasseur qu’il l’a achèté en 1717. Cette dernière a vu son expansion dans les années 50 après l’acquisition des brasseries majeures comme Leffe en Belgique, Dommelsch dans les Pays Bas, et Nord de la France. En 1987, la fusion des brasseries Artois et Piedboeuf était Interbrew, qui a acheté d’autres brasseurs Belges comme Hoegaarden et Bellevue. Cette croissance continuait dans des nouveaux pays Européens et même au Canada avec le Brasseur Labatt qui ouvrait les portes de l’Amérique, puis de l’Amérique Latine par le Mexique. Vers la fin des années 90, Interbrew continua son expansion dans presque tout le marchée Européen, en Russie, et dans l’Asie de l’Ouest particulièrement en Chine et en Corée. Au début du 21eme siècle, Interbrew, la simple brasserie belge est devenue l’une des plus grandes compagnies de bière au monde présente dans 23 pays des quartes continents. Stella Artois, étant une bière héritée de la longue histoire d’Interbrew, se distingue par le lancement de sa version modèle en 1920 comme « Bière pour Noel » et par son cheminement mondiale croissant qui l’a rendu en 1998 la première Bière Blonde de l’Europe. Analyse de la situation Plusieurs défis attendaient la compagnie...

Words: 1746 - Pages: 7

Free Essay

Etude Pays Norvège

...DOSSIER PAYS - Norvège DOSSIER PAYS - Norvège Session 2013 Hélène BIENVENÜE Ecole Nationale de Commerce Session 2013 Session 2013 Hélène BIENVENÜE Ecole Nationale de Commerce Session 2013 | I). | CARTE DU PAYS | Page 2 | II). | CADRAGE GÉNÉRAL ET CHIFFRES CLÉS | Page 3 | | - Situation géographique | Page 3 | | - Ressources naturelles | Page 5 | | - Principales villes et nombre d’habitants | Page 5 | | - Population (structure, croissance démographique, espérance de vie, niveau de vie, pouvoir d’achat, accès à l’éducation) | Page 6 | | - Religions et coutumes | Page 7 | | - Langue officielle et langue des affaires | Page 9 | | - Contexte politique et institutionnel | Page 9 | | - Situation économique et financière, tendances de la consommation | Page 13 | | - Secteurs porteurs | Page 17 | | - Dynamique du risque Pays et environnement des affaires | Page 20 | III). | PRÉSENCE FRANÇAISE, COMMERCE ET INVESTISSEMENT | Page 22 | | - Le commerce extérieur de la Norvège | Page 22 | | - La structure des échanges entre la France et la Norvège | Page 26 | | - Les investissements étrangers en Norvège – la place de la France | Page 29 | IV). | RÉGLEMENTATION DES ÉCHANGES | Page 31 | V). | INFORMATIONS PRATIQUES ET CARNET D’ADRESSES UTILES | Page 33 | | - Comment se rendre en Norvège, y séjourner, s’y déplacer | Page 33 | | - Us et coutumes dans le monde des affaires | Page 38 | ...

Words: 13414 - Pages: 54

Free Essay

Etude de Cas Rim

...Thomas Cadet Antoine Monnier Principes économiques des réseaux - Thierry Pénard – 2008/2009 - Master 2 Economie et conseil en technologie de l’information et de la communication et e-business Résumé L’étude que nous allons vous présenter va porter sur la compagnie canadienne « Reaserch In Motion » (RIM), célèbre pour exploiter et commercialiser les smartphones BlackBerry. Le marché des smartphones est en plein dynamisme aujourd’hui, ce qui est notamment du à l’entrée de nouveaux acteurs tels que HTC et Apple. L’objet de notre étude est de représenter la chaîne de valeur et le « business model » contenu dans BlackBerry. Plus généralement, nous nous pencherons sur une analyse concurrentielle du milieu des smartphones, à savoir quelles seront les perspectives et les tendances futures de ce marché. Sommaire Introduction I – Descriptif de la firme et son environnement 1.1 Présentation de RIM, maison mère de BlackBerry 1.2 Environnement 1.2.1 Présentation des marchés 1.2.1.1 Smartphones 1.2.1.2 Services mobiles et logiciels 1.2.2 Analyse Structure Comportement Performance 1.2.2.1 SCP sur les smartphones 1.2.2.2 SCP sur les services mobiles II – Modèle BlackBerry 2.1 Positionnement stratégique de la firme 2.2 La création de valeur chez BlackBerry 2.3 Matrice SWOT de la firme RIM III – Stratégies 3.1 Hier : Le vent en poupe 3.2 Aujourd’hui : Le vent tourne 3.3 Demain : la tempête ? Conclusion Introduction Depuis quelques années, le marché des « téléphones...

Words: 6197 - Pages: 25

Free Essay

Etude de Marché, Music

...Méthodologie de recherche 10 Etude qualitative 10 Etude quantitative : 12 Analyse des résultats 15 Analyse des données qualitative : 15 Analyse des données quantitative : 16 Limites de l’étude 27 27 Conclusions, discussion et implications 28 Bibliographie: 31 Annexes: 32 Résumé du projet  L’écoute de la musique classique est une pratique sans doute très appréciée par une grande variété de personnes, toutefois il arrive souvent que certaines salles de concerts classiques ne soient pas remplies comme espéré. La faculté de musique de l’Université Laval ne fait pas l’exception. Pour cette raison, ayant comme mandat de réaliser une étude de marché, nous avons décidé de traiter le cas des concerts de musique classique organisés par la faculté de musique au sein de l’Université Laval. L’objectif de notre travail a été celui de comprendre pourquoi les personnes assistent aux concerts de musique classique de l’université, ou mieux encore, pourquoi ils n’y assistent pas. Nous avons cherché d’identifier et mesurer les critères auxquels les clients et les non-clients, donnent le plus d’importance, afin que la faculté de musique puisse créer des offres mieux adaptées aux attentes des clients. Nous avons tout d’abord commencé par citer des chiffres dans notre introduction, dont l’objectif a été d’illustrer la situation de la musique classique au Canada. Nous avons lu 8 articles scientifiques afin d’en sélectionner les cinq plus pertinents pour notre étude. Cette recension des écrits...

Words: 11279 - Pages: 46

Free Essay

Etude de Cas Adidas

...Etude de cas marketing : Adidas et le marché des chaussures de sport 1. Diagnostic SWOT EXTERNE Opportunités Menaces Le marché du sport  Les ménages français dépensent en moyenne 1,4 fois plus d’argent pour l’achat d’articles de sport par ans que les autres pays européens, c'est-à-dire 353 euros  France = premier marché européen des articles de sport avec 8,3 milliards d’euros, soit une hausse de 2,8%.  Croissance importante du marché français  60% de la population française déclare pratiquer un sport au moins une fois par semaine, 23% sont membre d’un club et 13% participent à des compétitions  grande importance accordée au sport par les français, soit 36040067 clients potentiels  Multiplication des évènements sportifs en Europe  réel engouement des Français pour le sport  intérêt accordé à un ou plusieurs sports = facteur d’achat d’équipement sportif, dont les chaussures  Aujourd’hui la « basket » est devenue une chaussure de ville comme de sport  70% des articles de sport sont achetés pour un usage de loisir. Le marché de la chaussure de sport  36,2 millions de paires vendues en 2002 pour 1,5 milliards d’euros = hausse de 4% en volume et 10% en valeur par rapport à 2001  marché en forte croissance  Augmentation de la valeur du marché de chaussures de sport 2,5 fois plus élevée que la hausse du volume du marché  population française apte à dépenser plus pour l’achat d’un même article  Un tiers des chaussures de sport achetées...

Words: 3594 - Pages: 15

Free Essay

Etude de Cas Gucci

...Étude de cas sur les entreprises du luxe : L'exemple du succès mondial de GUCCI |SOMMAIRE | Introduction.................................................................................................................................3 I. Le marché du luxe confronté à une concurrence exacerbée....................................................4 II. Diagnostic global....................................................................................................................5 III. Diagnostic interne.................................................................................................................7 IV. Axes stratégiques passés et futurs.........................................................................................9 Références.................................................................................................................................11 INTRODUCTION Quelle est l’histoire du groupe Gucci? |Les points importants de l'histoire de la compagnie sont comme suit: | | |  | | |1921 |[|Fondation de la compagnie par Guccio GUCCI à Florence en Italie ...

Words: 3329 - Pages: 14

Free Essay

Étude de Marché Comptage Routier

...location)QATAR | * Comptage d’intersection * Comptage de carrefour giratoire * Comptage de « trafic moyen journalier » * Etudes de générateurs de déplacements * Etude d’intervalles * Etude de LAPI * Etudes origine-destination * Etudes de temps de trajets * Etudes de parking | PCR mesure & analyse du trafic routierRéférencement site spécialisé techni-contact.comAix en Provence | * Mesure de trafic routier * Comptage sur pistes cyclables * Enquêtes routières * Vente de matériel | IAU-IDF Institut d’Aménagement et d’UrbanismeParisSociété Publique(potentiel concurrent nouvelle loi) | * Plans de déplacements urbains * Plans de circulation piétonne et cycliste * Etude des conséquences pour la voirie des projets d’urbanisme * Le dimensionnement des parkings de stationnement * Etude de trafic | MAGYSEvryVente de produit (substitution) indirecte | * Compteur mobile radar * Compteur mobile magnétique * Compteur mobile pneumatique * Stations Hors Sol Multivoies * Station Radar Bidirectionnelle | COSITREX91330 YerresPARTENAIRES : bureaux d'études spécialisés dans les domaines de l'urbanisme, des VRD, de la socio-économie, de l'architecture et du développement territorial | * Aménagement des voies et des carrefours * Plans de circulation * Régulation des feux et exploitation des infrastructures * Etudes de trafic * Modélisation et simulation des déplacements * Enquêtes de circulation et de stationnement * Sécurité routière...

Words: 1010 - Pages: 5

Free Essay

Etude de Risques de Brouillage à L’aide Du Logiciel Seamcat

...Rapport de projet Etude de risques de brouillage à l’aide du logiciel SEAMCAT Maxence Radjabi Tom Guillaumet Encadrant : Thierry Letertre 2014-2015 Table des matières Introduction 1 Fonctionnement du logiciel SEAMCAT 1.1 La méthode de Monte Carlo . . . . . . 1.2 La terminologie de SEAMCAT . . . . . 1.3 Les critères d’interférence . . . . . . . 1.4 Les différents types d’interférence . . . 1.5 Le calcul des vecteurs dRSS et iRSS . . 2 . . . . . 3 3 3 4 6 7 2 Une application simple 2.1 Les paramètres de la simulation . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 2.2 Résultats de la simulation dans deux cas différents . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 2.3 Cohérence des résultats donnés par SEAMCAT . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 9 9 9 13 3 Etude du brouillage entre un système WiFi et un four à 3.1 Cadre de l’étude . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 3.2 Choix des paramètres et hypothèses . . . . . . . . . . . . . 3.3 Paramétrage du logiciel . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 3.4 Etude avec une fréquence centrale du micro-ondes fixe . . . 3.5 Etude avec une fréquence centrale du micro-ondes variable 3.6 Pistes d’évolution . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 14 14 14 15 17 18 19 . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . ...

Words: 4454 - Pages: 18

Free Essay

ÉTude de Cas Sur Yves Rocher

...YVES ROCHER Table des matières Intro : présentation de l’entreprise 1 1. Segmentation stratégique 1 1.1. Les DAS 1 Domaine d’activité stratégique est un ensemble de biens et services partageant les mêmes ressources, ayant les mêmes facteurs de succès qui ont les mêmes concurrents et pour lequel il est donc possible d’avoir une stratégie commune” 1 1.1.1. Le groupe Yves Rocher est diversifié avec plusieurs DAS : 1 1.1.2. Les DAS de la société YR 1 2. Voies et modes de croissance employés par YR 1 2.1. Les orientations stratégiques 1 2.1.1. La diversification 1 2.1.2. L’intégration 2 2.1.3. L’internationalisation 2 2.2. Stratégie concurrentielle 2 2.3 Les manœuvres stratégiques 2 2.3.1. Croissance interne 2 2.3.2. Croissance externe 2 (2.1 La demande et l’offre 2 2.1.1 La demande 2 2.1.2 L’offre 2 3 3. Diagnostic de la société 3 3.1. Externe (du DAS cosmétique) 3 3.1.1. Analyse selon Pestel 3 3.1.2 Analyse selon Porter 4 3.2. Interne 5 4. Synthèse de la situation d’YR 5 Intro : présentation de l’entreprise Historique,… 1. Segmentation stratégique 1.1. Les DAS Domaine d’activité stratégique est un ensemble de biens et services partageant les mêmes ressources, ayant les mêmes facteurs de succès qui ont les mêmes concurrents et pour lequel il est donc possible d’avoir une stratégie commune” 1.1.1. Le groupe Yves Rocher est diversifié avec plusieurs DAS : * PRINCIPAL : Cosmétique (YR+Daniel Jouvence, Dr Pierre Ricaud,...

Words: 1132 - Pages: 5

Premium Essay

11111111111

...Cover Letter Advice When writing a Cover Letter to send to a potential employer,  try to include the following elements: 1. State what are you applying for eg.  "I am writing to apply for the position of Marketing Assistant..." 2. Say why are you applying for this specific position. eg.  "I am passionate about marketing and feel that this position would enable me to develop my skills further..." 3. Elaborate on why you want to work for this specific company. eg.  "... in your company, to become part of such an iconic brand..." 4. Give some basic pesonal information. eg. "I am a third year ESPEME student at EDHEC Business School, Nice,.." 5. List a few of your best qualities and motivations. eg. "I am highly motivated, hard-working, with great attention to detail..." 6. Let them know that relocation isn't a problem, if the position involves moving to another country or city.eg. "London is an interesting city, and I would enjoy working in such a vibrant environment..." 7. Specify that you are enclosing (post) or attaching (email) your CV eg; "Please see my attached CV for your consideration..." 8. End the letter hopeful and confident of a response.and ususally signed "Yours sincerely" eg "I look forward to hearing from you." 9. Re-read your Cover Letter and ensure that it is concise, polite and formal. 10. Remember, you need to  try to "stand out from the crowd"!  The person receiving your application may receive hundreds of applications...

Words: 277 - Pages: 2